Friday, 19 April 2024
ECONBIZ

ทำไมไทยต้องนำเข้าน้ำมัน? ทั้งที่ผลิตน้ำมันได้

รู้ไหม? ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตน้ำมัน แล้วไม่พอต่อการใช้งานของคนในประเทศ

ราคาน้ำมันที่มีการผันผวนตลอดเวลา ไม่ว่าจะเนื่องด้วยเหตุผลใดก็ตาม ย่อมส่งผลต่อความไม่พอใจของประชาชนมาตลอด และเมื่อไม่พึงพอใจก็จะเกิดการเปรียบเทียบ ในวิกฤติราคาน้ำมันทุก ๆ ครั้ง ดังที่จะเห็นจนคุ้นตา คือการที่มักมีบางกลุ่ม เปรียบเทียบราคาพลังงานไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะมาเลเซีย

เมื่อไม่นานมานี้ ก็มีกรณีผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ที่ลงทุนเดินทางไปถึงมาเลเซียเพื่อเติมน้ำมันที่นั่น ก่อนจะเปรียบเทียบราคาน้ำมันของไทยกับมาเลเซียลงสื่อโซเชียล ส่งผลให้รัฐบาลมาเลเซียสั่งการให้มีการตรวจสอบผู้มาขอรับบริการว่าเป็นพลเมืองมาเลเซียหรือไม่ เนื่องจากราคาน้ำมันของมาเลเซีย ได้รับการชดเชยราคาโดยตรงด้วยภาษีของคนมาเลเซีย

แต่หากมองย้อนกลับไปที่ประเทศลาว จะเห็นว่าประเทศลาวนั้น มีราคาน้ำมันที่สูงกว่าไทยตลอด เนื่องจากว่าลาวนั้น ไม่มีแหล่งเชื้อเพลิงของตนเอง ราคาน้ำมันในลาว จึงเป็นราคาที่เพิ่มค่าใช้จ่ายในการขนส่งจากประเทศไทยเข้าไปร่วมด้วย เป็นสาเหตุให้มีราคาที่สูงกว่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง

นั่นทำให้คนลาวบางส่วน เข้ามาเติมน้ำมันในประเทศไทย และประเทศไทยก็สั่งห้ามเช่นเดียวกับมาเลเซีย

หันกลับมาพิจารณาถึงที่มาของราคาน้ำมัน ประเทศที่มีความสามารถในการขุดเจาะน้ำมันได้เอง และกลั่นน้ำมันได้เอง จะมีราคาน้ำมันสำหรับการใช้ในประเทศที่มีราคาถูกลงมากกว่าประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงานทั้งหมด

แต่จะถูกมากน้อยเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่า ประเทศนั้น ๆ มีปริมาณน้ำมันสำรอง และกำลังการผลิตมากเพียงพอที่จะตอบสนองของคนทั้งประเทศหรือไม่

จากข้อมูลของ Worldometer ระบุว่า ใน พ.ศ. 2559 มาเลเซียมีปริมาณน้ำมันสำรอง 3,600,000,000 บาร์เรล มากเป็นอันดับที่ 28 ของโลก ในขณะที่ประเทศไทยมีเพียง 404,890,000 บาร์เรล อยู่อันดับที่ 50 อีกทั้งมีปริมาณน้อยกว่ามาเลเซียถึง 8.9 เท่า

นอกจากนี้ กำลังการผลิตของมาเลเซียนั้น เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ สำหรับประชากรเพียงแค่ 32 ล้านคน มีน้ำมันเหลือใช้มากถึงวันละ 54,168 บาร์เรลต่อวัน ในขณะที่ไทย ทั้ง ๆ ที่ผลิตได้น้อยกว่า แต่กลับมีอัตราการบริโภคที่สูงกว่า จนทำให้กำลังการผลิตต่อวัน น้อยกว่าอัตราการบริโภคมากถึง 770,671 บาร์เรลต่อวันเลยทีเดียว

แต่ถึงแม้มาเลเซียจะมีกำลังการผลิตน้ำมันที่ล้นเหลือ แต่มาเลเซียก็ยังมีการนำเข้าน้ำมันมากถึง 197,489 บาร์เรลต่อวัน และส่งออกน้ำมัน 390,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งนี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ราคาน้ำมันในมาเลเซียเองก็ผันผวนตามราคาน้ำมันของโลกด้วยเหมือนกัน เพียงแต่ไม่ส่งผลกระทบมากเท่ากับประเทศไทยนั่นเอง

จากรายงานของ Worldometer ระบุว่า มาเลเซียมีน้ำมันสำรอง 0.2% เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำมันสำรองของโลก (1,650,585,140,000 บาร์เรล อ้างอิงข้อมูล พ.ศ. 2559) ในขณะที่ประเทศไทย มีปริมาณน้ำมันสำรองเพียง 0.02345% เพียงเท่านั้น

อัปเดตราคา 'หมู-เนื้อ-ไก่'

อัปเดตราคาอาหารสดวันนี้ มาดูกันว่าตามท้องตลาด ราคาอาหารสด ประจำวันที่ 26 ตุลาคม 2565 จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น ราคาหมู ราคาไก่ ราคาไข่ไก่ รวมไปถึงราคาผักสด เช็กกันเลย..

อัปเดตราคา ‘หมู-เนื้อ-ไก่’

อัปเดตราคาอาหารสดวันนี้ มาดูกันว่าตามท้องตลาด ราคาอาหารสด ประจำวันที่ 25 ตุลาคม 2565 จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น ราคาหมู ราคาไก่ ราคาไข่ไก่ รวมไปถึงราคาผักสด เช็กกันเลย..

อัปเดตราคา 'หมู - ไก่ - เนื้อ' ประจำวันที่ 24 ตุลาคม 2565

อัปเดตราคาอาหารสดวันนี้ มาดูกันว่าตามท้องตลาด ราคาอาหารสด ประจำวันที่ 24 ตุลาคม 2565 จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น ราคาหมู ราคาไก่ ราคาไข่ไก่ รวมไปถึงราคาผักสด เช็กกันเลย...

อัปเดตราคา 'หมู - ไก่ - เนื้อ' ประจำวันที่ 23 ตุลาคม 2565

อัปเดตราคาอาหารสดวันนี้ มาดูกันว่าตามท้องตลาด ราคาอาหารสด ประจำวันที่ 23 ตุลาคม 2565 จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น ราคาหมู ราคาไก่ ราคาไข่ไก่ รวมไปถึงราคาผักสด เช็กกันเลย...

อัปเดตราคา 'หมู - ไก่ - เนื้อ' ประจำวันที่ 22 ตุลาคม 2565

อัปเดตราคาอาหารสดวันนี้ มาดูกันว่าตามท้องตลาด ราคาอาหารสด ประจำวันที่ 22 ตุลาคม 2565 จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น ราคาหมู ราคาไก่ ราคาไข่ไก่ รวมไปถึงราคาผักสด เช็กกันเลย...

นายกฯ เคาะแผนลงทุนอุตสาหกรรมระเบียงเศรษฐกิจ 4 ภาค

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) เห็นชอบการกำหนดกิจการเป้าหมายและสิทธิประโยชน์ สำหรับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ทั้ง 4 ภาค โดยกำหนดคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมายสำหรับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจทั้ง 4 ภาค เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเป็นการเฉพาะและเหมาะสมตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ 

โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เสนอคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพิจารณากำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษตามแนวทางที่ กพศ. ให้ความเห็นชอบต่อไป โดยมีพื้นที่และคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้

(1) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor : NEC - Creative LANNA) ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง ส่งเสริมคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 
1) อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 
2) อุตสาหกรรมดิจิทัล
3) อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) 
และ 4) อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร 

(2) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor : NeEC - Bioeconomy) ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย ส่งเสริมคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 
1) อุตสาหกรรมชีวภาพ 
และ 2) อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร 

(3) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง - ตะวันตก (Central - Western Economic Corridor : CWEC) ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี ส่งเสริมคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 
1) อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร 
และ 2) อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 

(4) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) ในพื้นที่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ส่งเสริมคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 
1) อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร 
2) อุตสาหกรรมชีวภาพ 
และ 3) อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) 

อัปเดตราคา ‘หมู-เนื้อ-ไก่’

อัปเดตราคาอาหารสดวันนี้ มาดูกันว่าตามท้องตลาด ราคาอาหารสด ประจำวันที่ 21 ตุลาคม 2565 จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น ราคาหมู ราคาไก่ ราคาไข่ไก่ รวมไปถึงราคาผักสด เช็กกันเลย..

อัปเดตราคา 'หมู-เนื้อ-ไก่'

อัปเดตราคาอาหารสดวันนี้ มาดูกันว่าตามท้องตลาด ราคาอาหารสด ประจำวันที่ 20 ตุลาคม 2565 จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น ราคาหมู ราคาไก่ ราคาไข่ไก่ รวมไปถึงราคาผักสด เช็กกันเลย..

'ไทย-ลาว' ร่วมมือ สร้างสะพานมิตรภาพคู่ขนาน คาด!! เขตเศรษฐกิจพิเศษเกิดแน่ หลังถูกเมินหลายปี

รออีกไม่นาน!! สะพานมิตรภาพไทย - ลาว คู่ขนานจะเกิดขึ้น ห่างจากสะพานเดิมเพียง 500 เมตร คาดก่อสร้างได้ปี 2567 สร้างเสร็จภายใน 3 ปี ไทย - ลาว ร่วมมือกันลงทุนคนละครึ่ง หนองคายขานรับผุดโครงการรองรับการขยายตัวทางโลจิสติกส์ คาดรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูงมาถึงหนองคาย นักลงทุนจะแห่เข้าประมูลทำประโยชน์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ หลังถูกเมินมานานหลายปี

ในระยะเวลาอันใกล้นี้จังหวัดหนองคายจะมีการพัฒนาในหลาย ๆ ด้าน ทั้งโครงการที่ได้รับอนุมัติงบประมาณแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณา เจรจา และนำเสนอ ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการลงทุนด้านโลจิสติกส์เพื่อรองรับการเจริญเติบโตและให้สอดรับกับขบวนรถไฟความเร็วสูงลาว - จีน ซึ่งนับตั้งแต่มีการเปิดใช้รถไฟความเร็วสูงลาว - จีน แม้เดินทางไปถึงได้แค่สถานีบ่อเต็น ยังไม่สามารถเข้าเมืองคุนหมิงได้ ก็มีผู้ใช้บริการขบวนรถไฟสายนี้แล้วกว่า 2 ล้าน 8 หมื่นคน เป็นคนไทยมากถึง 2 ล้านคน

โดยในช่วงเดือนตุลาคมนี้ รัฐบาลจีนจะมีการประชุมหารือว่าจะสามารถเปิดเดินรถไฟถึงสถานีคุนหมิงได้ในช่วงใด เนื่องจากรัฐบาลจีนยังให้ความสำคัญกับซีโร่โควิดอยู่ และยังมีประเด็นให้พิจารณารอบด้าน ซึ่งปัญหาการเดินรถไฟขบวนขนสินค้าที่หยุดอยู่ที่สถานีท่านาแล้ง สปป.ลาว ไม่ได้เชื่อมต่อไปยังท่าเรือบกของลาวเพื่อขึ้นรถไฟความเร็วสูงขึ้น ต้องมีการยกแคร่สินค้าโดยทางการลาว

อย่างไรก็ตามแม้ขบวนรถไฟสายนี้จะหยุดอยู่แค่ สปป.ลาว ไม่ได้ข้ามฝั่งมายังประเทศไทย แต่รัฐบาลไทยไม่ได้นิ่งนอนใจมีการจัดทำโครงการเพื่อให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด โดยโครงการใหญ่ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ในปี 2566 คือการเริ่มก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว คู่ขนานกับสะพานแห่งที่ 1 อ.เมืองหนองคาย จุดที่ตั้งตัวสะพานห่างกันเพียง 500 เมตร ใกล้กับวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือหนองคาย ชุมชนจอมมณี เขตเทศบาลเมืองหนองคาย

ซึ่งการก่อสร้างสะพานแห่งใหม่ดังกล่าว เกิดขึ้นจากสภาพความแออัดของสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 1 ที่มีปริมาณรถยนต์ส่วนบุคคล รถบรรทุกสินค้า รถโดยสารเข้าออกในแต่ละวันจำนวนมาก ยิ่งในช่วงวันหยุดเทศกาลต่าง ๆ การจราจรจะหนาแน่น ประกอบกับมีรางรถไฟไทย - ลาว อยู่ตรงกลางสะพาน ทำให้เมื่อเวลารถไฟจะแล่นผ่าน ต้องหยุดรถยนต์ทุกชนิด ดังนั้นการก่อสร้างสะพานแห่งใหม่นี้จึงเกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลลาวลงทุนก่อสร้างร่วมกันคนละครึ่ง และจะมีเอกสิทธิ์ อำนาจการบริการจัดการเท่าเทียมกัน

โดยในปี 2566 จะเป็นการศึกษาออกแบบ และเริ่มก่อสร้างในปี 2567 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี แล้วเสร็จประมาณปี 2571 ส่วนการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่สำหรับขนสินค้าคาดว่าจะก่อสร้างถึงสถานีนาทา หนองคาย ในปี 2569 และการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสำหรับคนโดยสารคาดว่าจะมาถึงหนองคายในปี 2572

พร้อมทั้งมีการจัดสร้างสถานีพักคอยรถบรรทุก สามารถจอดรถได้ 200 คัน ที่บ้านหนองสองห้อง อ.เมืองหนองคาย ริมถนนมิตรภาพ ก่อนที่รถบรรทุกสินค้าจะนำสินค้าข้ามแดน จะมีรถโมบายเอ็กซเรย์ของศุลกากร เข้าตรวจสอบ จำนวน 3 คัน เพื่อแก้ปัญหาความล่าช้า และสามารถปล่อยรถที่ได้รับการตรวจตามขั้นตอนปฏิบัติแล้วออกไปได้ โดยสถานีพักคอยรถบรรทุกจะเปิดใช้ในปี 2566


© Copyright 2022, All rights reserved. Esan Time Thailand
Take Me Top