Tuesday, 16 April 2024
LITE

12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เครื่องบินซาอุฯ – คาซัคฯ ชนสนั่นกลางอากาศ เสียชีวิตหมดยกสองลำ รวม 349 ชีวิต

วันนี้ของเมื่อ 26 ปีก่อน หรือเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ได้เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศที่ประเทศอินเดีย ส่งผลให้ผู้โดยสารของทั้งสองลำ เสียชีวิตทั้งหมด รวม 349 คน

เหตุการณ์สุดสลดดังกล่าว เกิดขึ้นจากเครื่องบินลำหนึ่ง เป็นเครื่องบินโดยสารที่เดินทางจาก ‘คาซัคสถาน’ และกำลังจะลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติ ‘อินทิรา คานธี’ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย

เกิดชนกันกับเครื่องบินโดยสารอีกลำหนึ่งคือสายการบินของซาอุดีอาระเบีย ที่ขึ้นบินจากท่าอากาศยานเดียวกัน โดยมีปลายทางคือ ‘ซาอุดีอาระเบีย’

โดยตำแหน่งที่เกิดอุบัติเหตุอยู่ใกล้กับเมืองจรรขีทาทรี รัฐหรยาณา ประเทศอินเดีย เหตุการณ์นี้จึงเป็นที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า ‘เหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศที่จรรขีทาทรี’

ผลคือ ผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องบินทั้งสองลำรวมทั้งสิ้น 349 คนเสียชีวิตทั้งหมด!!

นั่นจึงทำให้เหตุการณ์นี้ ถือเป็นอุบัติเหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลก เป็นอุบัติเหตุทางการบินที่ร้ายแรงที่สุดในประเทศอินเดีย และเป็นอุบัติเหตุทางการบินที่ร้ายแรงที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในโลก รองจากเหตุการณ์เครื่องบินชนกันที่ท่าอากาศยานเตเนริเฟในหมู่เกาะคะแนรี ประเทศสเปนในปี พ.ศ. 2520 และอุบัติเหตุเจแปนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 123 ตกที่ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2528

สำหรับเหตุการณ์นี้ เครื่องลำหนึ่งเป็นเครื่องบินโบอิง 747 ของสายการบินซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์ หรือเที่ยวบินที่ 763 ส่วนอีกลำหนึ่ง คือ เครื่องบินอิลยูชิน อิล-76 ของสายการบินคาซัคสถานแอร์ไลน์ หรือ เที่ยวบินที่ 1907

รายละเอียดของเครื่องบินทั้งสองเที่ยวบินนี้ คือ เที่ยวบินที่ 763 เป็นเที่ยวบินเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย โดยมีกำหนดลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติอัซเซาะฮ์รอน เมืองอัซเซาะฮ์รอน ทางตะวันออกของประเทศซาอุดีอาระเบีย ก่อนจะเดินทางต่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ เมืองญิดดะฮ์ ทางตะวันตกของซาอุดีอาระเบีย

โดยใช้เครื่องบินโบอิง 747-168 บี หมายเลขทะเบียน HZ-AIH ขณะที่เกิดเหตุเครื่องบินลำนี้มีอายุ 14 ปี 10 เดือน มีผู้โดยสารบนเครื่องบินลำนี้ 289 คน และลูกเรือ 23 คน

ผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดีย ซึ่งเดินทางไปทำงานหรือไปแสวงบุญที่ซาอุดีอาระเบีย และมีชาวต่างชาตินอกเหนือจากอินเดียและซาอุดีอาระเบียอยู่ด้วย 17 คน

ส่วนเที่ยวบินที่ 1907 เป็นเที่ยวบินเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติชิมเคนต์ เมืองชิมเคนต์ ทางตอนใต้ของประเทศคาซัคสถาน มายังท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี กรุงนิวเดลี

โดยใช้เครื่องบินอิลยูชิน อิล-76ทีดี หมายเลขทะเบียน UN-76435 โดยขณะเกิดเหตุเครื่องบินลำนี้มีอายุ 4 ปี ในรายงานข่าวแต่แรกนั้นระบุว่ามีคนบนเครื่องบินทั้งหมด 39 คน

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของสายการบินคาซัคสถานแอร์ไลน์ได้แจ้งว่ามีคนบนเครื่องบินเพียง 37 คน โดยเป็นลูกเรือ 10 คน และผู้โดยสาร 27 คน

ซึ่งเที่ยวบินนี้เป็นเที่ยวบินเหมาลำ โดยมีบริษัทเสื้อผ้าแห่งหนึ่งในประเทศคีร์กีซสถานเป็นผู้เช่า ผู้โดยสาร 13 คนบนเครื่องบินลำนี้ถือสัญชาติคีร์กีซ

ระหว่างที่ คาซัคสถานแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 1907 ใกล้ถึงท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี ได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศของเดลีตามปกติ ซึ่งเจ้าหน้าที่สั่งให้เที่ยวบินที่ 1907 ลดระดับลงมาที่ 15,000 ฟุต

หากแต่ในขณะนั้น ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 763 ก็ได้ทำการขึ้นบินจากท่าอากาศยาน และมุ่งหน้าไปในเส้นทางบินเดียวกัน ซึ่งสวนทางกับเที่ยวบินที่ 1907

เสี้ยวนาทีนั้น เจ้าหน้าที่จึงสั่งให้เที่ยวบินที่ 763 ไต่ระดับขึ้นไปที่เพดานบิน 14,000 ฟุต เที่ยวบินที่ 1907 เมื่อลดระดับถึง 15,000 ฟุตแล้วก็รายงานต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจร

เจ้าหน้าที่ได้แจ้งเตือนเที่ยวบินที่ 1907 ว่าเที่ยวบินที่ 763 กำลังมุ่งหน้าสวนทางกัน อย่างไรก็ตาม ที่จริงแล้วเที่ยวบินที่ 1907 ไม่ได้รักษาระดับความสูงอยู่ที่ 15,000 ฟุต หากแต่กำลังลดระดับลงมาโดยในขณะนั้นอยู่ที่ระดับความสูง 14,500 ฟุตและกำลังลดระดับต่อไปอีก

11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก

วันนี้เมื่อ 154 ปี ก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก ขณะพระชนมายุเพียง 15 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประสูติ เมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ทรงพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศ์บริพัตร ศิริวัฒนราชกุมาร 

ทรงได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามกรมว่า กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรสังกาศ หลังจากทรงผนวชเป็นสามเณรทรงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ กรมขุนพินิตประชานาถ ทรงเป็นพระราชปิโยรสที่สมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดให้เสด็จอยู่ใกล้ชิดติดพระองค์เสมอเพื่อให้มีโอกาสแนะนำสั่งสอนวิชาการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชารัฏฐาภิบาล ราชประเพณีและโบราณคดี นอกจากนั้นยังทรงศึกษาภาษามคธ ภาษาอังกฤษ การยิงปืนไฟ กระบี่กระบอง มวยปล้ำ รวมทั้งการบังคับช้างอีกด้วย

10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ‘ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์’ คืนสู่ไทย หลังหายจากปราสาทหินพนมรุ้งกว่า 30 ปี

10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ปราสาทหินพนมรุ้ง ที่หายไปกว่า 30 ปี ถูกส่งคืนสู่ประเทศไทย หลังการเรียกร้องขอคืนจากสถาบันศิลปะแห่งชิคาโก สหรัฐอเมริกา

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ประติมากรรมสุดล้ำค่า ได้หายไปจากปราสาทหินพนมรุ้ง นานหลายสิบปี โดยสันนิษฐานว่าถูกโจรกรรมไปในช่วงสงครามเวียดนาม ประมาณปี 2507-2508 ทางกรมศิลปากรในฐานะผู้ดูแลจะได้พยายามค้นหา
 

9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 วันทลาย ‘กำแพงเบอร์ลิน’ สัญลักษณ์แห่งการสิ้นสุดยุคสงครามเย็น

วันนี้ เมื่อ 33 ปีก่อน รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเยอรมันตะวันออกเริ่มทะลายกำแพงเบอร์ลิน หลังสหภาพโซเวียตใช้ปิดกั้นเป็นเวลานานถึง 28 ปี

ย้อนกลับไปเมื่อปี 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เยอรมนีในฐานะผู้แพ้สงครามถูกแบ่งประเทศออกเป็น 4 ส่วนภายใต้การควบคุมของ 4 ประเทศผู้ชนะคือ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และสหภาพโซเวียต หรือรัสเซียในปัจจุบัน
 

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 วันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 หรือวันนี้ เมื่อ 129 ปีก่อน เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 

โดยเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 96 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระองค์ที่ 14 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
 

7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม ในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช 2539 ที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ครองราชย์สมบัติเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด

ทั้งนี้ ในรัชสมัย ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2555 จำนวน 15 ครั้ง และจัดขบวนเรือพระราชพิธี จำนวน 2 ครั้ง 
 

6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 ‘พระเจ้าตาก’ รบชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น กู้เอกราชสำเร็จหลังเสียกรุงศรีอยุธยา 7 เดือน

วันนี้ เมื่อ 255 ปีก่อน เป็นหนึ่งวันสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทย เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รบชนะพม่า และฆ่าสุดกี้แม่ทัพพม่าตาย ถือเป็นการกู้เอกราชคืนจากพม่าได้สำเร็จ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 

ภายหลังจาก เจ้าตากตีเมืองจันทบุรีได้ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 3 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เพลา 3 ยามเศษ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน 2310 เวลาประมาณ 03.00 น. หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน

หลังจากนั้น เจ้าตากได้เคลื่อนทัพไปยังเมืองตราด พวกกรมการและราษฎรเกิดความเกรงกลัวต่างพากันมาอ่อนน้อมโดยดี ภายหลังกลับจากตราดมาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนอยู่ที่เมืองจันทบุรี เพื่อวางแผนปฏิบัติการรบเพื่อตีกรุงศรีอยุธยาคืนจากข้าศึก พร้อมกับสั่งให้ต่อเรือรบและรวบรวมเครื่องศัตราวุธและยุทธภัณฑ์ภายในเวลา 3 เดือน พร้อมกับฝึกไพร่พลให้พร้อมที่จะปฏิบัติการ
 

5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงลาผนวช รวมเวลาทรงผนวชทั้งสิ้น 15 วัน

5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลาผนวช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร รวมเวลาทรงผนวชทั้งสิ้น 15 วัน

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเข้าพิธีบรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2499 และทรงได้รับสมญานามจากพระราชอุปัชฌาจารย์ ว่า “ภูมิพโล” ในระหว่างที่ทรงดำรงสมณเพศ ทรงประทับ ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

ระหว่างที่ทรงดำรงสมณเพศ พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระราชกิจ เช่นเดียวกับพระภิกษุทั้งหลายอย่างเคร่งครัด เช่น เสด็จลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเช้า–เย็น ตลอดจนทรงสดับพระธรรมและพระวินัยนอกจากนี้ยังได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจพิเศษอื่นๆ อาทิ 
 

3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ‘ไลก้า’ สุนัขตัวแรกของโลกถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ กรุยทางสู่การสำรวจอวกาศให้มนุษยชาติ

ไลก้า (Laika) สุนัขอวกาศโซเวียต ชื่อที่มีความหมายว่า ‘ช่างเห่า’ คือสุนัขและสัตว์ตัวแรกที่โคจรรอบโลก และก็เป็นตัวแรกที่ตายในวงโคจรด้วยเช่นกัน

ไลก้าเดิมเป็นสุนัขเร่ร่อน ชื่อ คุดร์ยัฟกา แปลว่า ‘เจ้าขนหยิกน้อย’ เข้าสู่การฝึกกับสุนัขอื่นอีกสองตัว ในท้ายที่สุดไลก้าได้รับเลือกเป็นผู้โดยสารไปกับยานอวกาศ สปุตนิก 2 ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957)

เป็นที่รับทราบกันน้อยมากถึงผลกระทบของการบินในอวกาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิต ในภารกิจของไลก้านั้นเทคโนโลยีในการผละออกจากวงโคจรยังไม่ถูกพัฒนา จึงไม่มีการคาดว่าไลก้าจะรอดชีวิต นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่ามนุษย์จะไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้จากการปล่อยหรือสภาพของอวกาศ 
 

2 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 ประเทศไทยมีประชากรครบ 60 ล้านคน หลังมีทารก 10 คน คลอดในเวลา 9.48 น.

วันนี้เมื่อ 26 ปีก่อน เป็นวันที่ประเทศไทยมีประชากรครบ 60 ล้านคนเป็นครั้งแรก ข้อมูลจากเว็บไซต์กรมอนามัยระบุว่า ประชากรคนที่ 60 ล้าน เป็นเด็กทารกเพศชาย คลอดในเวลา 09.48 น. ที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล

วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นวันที่ประเทศไทยมีประชากรครบ 60 ล้านคน ทางการได้มีกิจกรรมถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ช่อง 5 มีการรายงานผลการเกิดของทารกทั่วประเทศ มีหน่วยรถเคลื่อนที่ของช่อง 5 ไปถ่ายทอดสดเหตุการณ์จริงจากห้องคลอดของจังหวัดหลัก ๆ 

ทั้งนี้ มีเด็กที่เกิดในเวลา 09.48 น. ทั้งหมดจำนวน 10 คน โดยรัฐบาลในขณะนั้นได้มอบของขวัญวันเกิดสุดพิเศษให้ เช่น พระเลี่ยมทอง หรือเลสทองคำสลัก ‘อัลเลาะห์’ สำหรับเด็กที่มารดานับถือศาสนาอิสลาม, เช็กของขวัญ 10,000 บาท, บัตรประกันสุขภาพ 10 ปี, ทุนการศึกษาครบหลักสูตร เป็นต้น

1  พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 วันก่อตั้ง ‘โรงพยาบาลคนเสียจริต’ โรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกในประเทศไทย

วันนี้เมื่อ 132 ปีที่แล้ว ประเทศไทยกำเนิด ‘โรงพยาบาลคนเสียจริต’ เป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาเป็นโรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกใน ประเทศไทย ก่อตั้งโดยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 โดยมีชื่อว่า 'โรงพยาบาลคนเสียจริต' ตั้งอยู่ที่ปากคลองสาน 

โรงพยาบาลคนเสียจริต ทำการรักษาผู้ป่วยโดยแพทย์ประจำ และแพทย์แผนไทย ต่อมามีผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น ประกอบกับสถานที่คับแคบ นายแพทย์ไฮเอ็ด เจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาล กระทรวงนครบาล ซึ่งถือว่าเป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาลได้เสนอให้รัฐบาลซื้อที่ดิน และบ้านของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) หรือเจ้าคุณทหาร ที่ดินของนายเปียราชานุประพันธ์และที่ดินใกล้เคียงของราษฎรอื่น ๆ รวมเนื้อที่ 44 ไร่ครึ่งเพื่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่

ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบันฯ ในปัจจุบัน คือ อยู่ที่ริมคลองสานด้านตะวันตกตอนใต้ ห่างจากสถานที่เดิมประมาณ 600 เมตร การสร้างโรงพยาบาลคนเสียจริต อยู่ภายใต้การควบคุมของพระยาอายุรเวชวิจักษ์ (หมอคาธิวส์) ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาล ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานโรงพยาบาลจิตเวชให้เป็นแบบตะวันตกอย่างแท้จริง โดยให้การบำบัดรักษาตามหลักวิชาการในสมัยนั้น พร้อมทั้งให้การดูแลผู้ป่วยด้วยความเมตตา กรุณา และมีมนุษยธรรม ในด้านสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาลมีความร่มรื่นด้วยไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม้ดอก ไม้ใบสีสวย เรือนผู้ป่วยเป็นห้องมีลูกกรงสายบัว โปร่ง ไม่มีหน้าต่าง หลังคาสังกะสีทาสีแดง

ภายหลังมีแพทย์แผนปัจจุบันคนไทยจบการศึกษามารับราชการแทนชาวต่างประเทศ ศาสตราจารย์หลวงวิเชียรแพทยาคม (นายแพทย์เถียร ตูวิเชียร) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนแรกซึ่งเป็นคนไทย ท่านได้ไปศึกษาวิชาโรคจิตเพิ่มเติมที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 2 ปี ท่านตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช จึงได้เผยแพร่ความรู้ทางด้านจิตเวชด้วยการเขียนบทความ บรรยาย ปาฐกถาเพื่อให้ประชาชนเข้าใจ และเลิกหวาดกลัวผู้ป่วยจิตเวช ท่านได้เปลี่ยนชื่อ “โรงพยาบาลคนเสียจริต” มาเป็น 'โรงพยาบาลโรคจิตต์ธนบุรี' ในปี พ.ศ. 2475 เพื่อให้คนทั่วไปคลายความรังเกียจที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวช

ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ผู้อำนวยการในช่วงปี พ.ศ. 2485 - 2502 ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งจิตเวชศาสตร์ไทย ท่านได้พัฒนาโรงพยาบาลโดยรื้อลูกกรงเหล็กแล้วเปลี่ยนเป็นมุ้งลวดแทน เปลี่ยนชื่อเรือนที่พักของผู้ป่วยเป็นชื่อดอกไม้เพื่อให้มีความหมายน่าชื่นใจ ในด้านการดูแลผู้ป่วยใช้หลักของความรัก ความเอาใจใส่ประดุจพ่อแม่ดูแลลูก ในด้านวิชาการท่านเป็นผู้วางรากฐานวิชาจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิตในการศึกษาก่อนและหลังปริญญา ท่านได้เปลี่ยนชื่อ 'โรงพยาบาลโรคจิตต์ธนบุรี' มาเป็น 'โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา' ในปี พ.ศ. 2497 ตามชื่อของถนนสมเด็จเจ้าพระยาซึ่งผ่านหน้าโรงพยาบาล เพื่อลดความกระดากใจของผู้มาใช้บริการ

โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวช ประสาทวิทยา ประสาทศัลยศาสตร์ ประสาทจิตเวชศาสตร์ เป็นสถาบันฝึกอบรมทางด้านจิตเวชศาสตร์ สุขภาพจิต และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในระดับก่อนและหลังปริญญา พัฒนางานวิชาการด้านจิตเวชศาสตร์ สุขภาพจิต ประสาทวิทยา ประสาทศัลยศาสตร์ ประสาทจิตเวชศาสตร์ และเพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น 'สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา' ในปี พ.ศ. 2545


ที่มา : https://www.somdet.go.th/public/his_som.html

31 ตุลาคม ของทุกปี เป็น ‘วันออมแห่งชาติ’ ส่งเสริมให้คนไทยมีนิสัยรักการออม

วันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันออมแห่งชาติ และเป็นวันแห่งการประหยัดและการออมของโลก หรือที่เรียกว่า World Thrift Day โดยกำหนดครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2467

ในระดับโลกนั้น ทุกๆ ปีจะมีวันที่เรียกว่า ‘วันออมโลก (World Thrift Day)’ ซึ่งจะตรงกับวันสุดท้าย ของเดือนตุลาคมของทุกปี โดยกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกในการประชุมที่มิลาน ประเทศอิตาลี เมื่อ ค.ศ. 1924 เพื่อให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของการออม

30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 วันสถาปนา ‘ท้าวสุรนารี’ เชิดชูหญิงกล้าเมืองนครราชสีมา

วันนี้เมื่อ 195 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ‘คุณหญิงโม’ เป็นท้าวสุรนารี วีรกรรมหญิงไทยที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึก!!

ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า 'โม' หรือท้าวมะโหโรง เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกา พ.ศ. 2314 มีนิวาสสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แป้นาผล ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ จุก

29 ตุลาคม ของทุกปี วันภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ ร่วมตระหนักในคุณค่าภูมิปัญญาประจำชาติ

วันที่ 29 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวัน 'ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ' เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ที่ทรงจารึกตำราแพทย์แผนไทยให้เป็นภูมิปัญญาของชาติ

เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม แก่ปวงชนชาวไทยนานัปการ พระราชกรณียกิจที่สําคัญในการรวบรวมองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยมาเผยแพร่ในวงกว้าง ทําให้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยเป็นรากฐานของชาติไทย และตามหลักฐานจารึกแผ่นศิลาว่าด้วยการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ครั้งรัชกาลที่ 3 จ.ศ. 1193 ตรงกับวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2374

28 ตุลาคม พ.ศ.2539 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าชายฟิลิป เสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

วันนี้ เมื่อ 26 ปีที่แล้ว สมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ พระราชสวามี เสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานพระราชอาคันตุกะ ในหลวง รัชกาลที่ 9

วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2539 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ให้การถวายเลี้ยงพระกระยาหารค่ำแด่สมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ พระราชสวามี เสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะ ในระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 เนื่องในโอกาสปีกาญจนาภิเษก ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ซึ่งถือเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติเป็นระยะเวลายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย


© Copyright 2022, All rights reserved. Esan Time Thailand
Take Me Top