Thursday, 2 May 2024
กาฬสินธุ์

ค้านประกัน! ครูพละหื่นลวงขืนใจลูกศิษย์ ม.1 มอบตัวแล้ว ตร.แจ้ง 2 ข้อหาหนัก

วันนี้ ( 25 ต.ค.) เวลา 09.00 น.ที่ สภ.กุฉินารายณ์ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ นายวชิระ พนมแก่น อายุ 45 ปี ผู้ถูกกล่าวหาในคดีข่มขืนลูกศิษย์ตนเอง ซึ่งเป็นนักเรียนหญิงชั้น ม.1 ของโรงเรียนบัวขาว ในระหว่างเข้าค่ายชมรมกีฬาฯนักวิ่ง โดยเหตุเกิดตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2565 ได้เดินทางมาพร้อมทนายความและเข้ามอบตัวกับ พ.ต.ท.ฐิติพันธ์ นิติธรรมสารพล รอง ผกก.สอบสวน สภ.กุฉินารายณ์ ในชุดแต่งกายสีดำสวมเสื้อคลุมใส่หมวกและหน้ากากปิดจมูก

พนักงานสอบสวน สภ.กุฉินารายณ์ ได้แจ้งสองข้อหาหนัก ประกอบด้วย กระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี โดยขู่เข็ญด้วยประการใดใด โดยเป็นศิษย์ที่อยู่ในควบคุมดูแลและพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาผู้ปกครองเพื่อการอนาจาร โดยตลอดการสอบปากคำผู้ต้องหาให้การปฏิเสธที่มีสีหน้าเคร่งเครียด

ด้าน พล.ต.ต.สุวรรณ์ เชี่ยวนาวินธวัช ผบก.ภ.จว.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ขณะนี้พนักงานสอบสวน ได้นำตัวผู้ต้องหาส่งฝากขังยังศาลกาฬสินธุ์ โดยพนักงานสอบสวน สภ.กุฉินารายณ์ จะทำการค้านการประกันตัว ถึงแม้จะเข้ามามอบตัว เนื่องจากเกรงว่าผู้ต้องหาจะไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน และว่า คดีนี้ถือเป็นคดีที่สังคมให้ความสนใจ เนื่องจากผู้ต้องหาเป็นครูที่มีพฤติกรรมในการใช้อุบายหลอกให้ลูกศิษย์ที่มีความฝันจะเป็นนักวิ่งไปเข้าค่ายแล้วกระทำชำเราฯ กระบวนการจากนี้เด็กหญิงผู้เสียหายทางสหวิชาชีพเข้าสอบสวนเพื่อรวบรวมพยานหลักฐาน ให้รัดกุมในการดำเนินคดีต่อไป

สำหรับกรณีนี้ ก่อนหน้านั้น โลกโซเชียล ได้นำข้อความของผู้ปกครองนักเรียนหญิงชั้น ม.1 อายุ 13 ปี ชาว อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งไปเรียนที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในตัว อ.กุฉินารายณ์ และเป็นนักกีฬาชมรมวิ่งของโรงเรียน ถูกครูชายสอนวิชาพละเรียกไปหาที่ห้องพัก เพื่อให้นวด ก่อนหลอกให้ดื่มน้ำผสมอะไรบางอย่างจนสลบ พอตื่นขึ้นมาไม่ได้ใส่เสื้อผ้า เจ็บอวัยวะเพศ ตรวจร่ายกายพบอวัยวะฉีกขาด คาดว่าจะถูกข่มขืน

ซึ่งหลังเกิดเหตุผู้ปกครองพาไปแจ้งความที่สภ.กุฉินารายรณ์ แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า จนเกิดกระแสกดดันและมีการร้องไปยังมูลนิธีปวีณา


ที่มา : https://mgronline.com/local/detail/9650000101869

กาฬสินธุ์-ประกวดข้าวจี่ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน

วัดเวฬุวัน เทศบาลตำบลนิคม อำเภอสหัสขันธ์ และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์ จัดกิจกรรมประกวดข้าวจี่ คัดสรรสารพัดของดีถิ่นอีสาน เมนูจากภูมิปัญญาแสนอร่อย โชว์ลวดลาย ปั้น ทาไข่ ปิ้งไฟ ที่วัดเวฬุวัน ตำบลนิคม อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

นายอุทัย สิงห์ทอง พัฒนาการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานเปิดกิจกรรมวันดินโลก การประกวดข้าวจี่ และประกวดร้องเพลงในงาน “นมัสการหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์” ตามโครงการทำดีเพื่อพ่อสานต่อพระราชปณิธาน ร.9 นมัสการหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ยลวิถีริมเขื่อนลำปาว ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยมีนางสาวแววตา นระทัด นายอำเภอสหัสขันธ์, นายวิญญู ขันผง นายกเทศมนตรีตำบลนิคม, นายชัชชัย กลีบมะลิ ผอ.กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน, นางศุภวรรณ พงษ์นุ่มกุล พัฒนาการอำเภอสหัสขันธ์ และประชาชนอำเภอสหัสขันธ์ นักท่องเที่ยว กว่า 500 คน ร่วมกิจกรรมอย่างคึกคัก

โดยนายอุทัย สิงห์ทอง พัฒนาการจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เปิดกิจกรรมวันดินโลก ซึ่งมีเกษตรกร เครือข่ายโคกหนองนา เครือข่ายดิน ปุ๋ย บ้านแก้งนคร นำสินค้า และสาธิตการทำดินปลูกด้วยตัวเองกับสูตรดินง่าย ๆ จากนั้นได้เปิดกิจกรรมการประกวดข้าวจี่และร้องเพลงปาฏิหาริย์หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนและนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะข้าวจี่ ที่มีให้รับประทานตลอดทั้งวัน ในปีนี้ข้าวจี่จาก 6 ชุมชน นำมาปั้น ทาไข่ ปิ้งร้อน ๆ เป็นข้าวจี่ข้าวใหม่ ข้าวจี่ข้าวก่ำ เพิ่มอัตลักษณ์ด้วยเมนูเครื่องเคียงอย่างปลาแห้ง ปลาซิวแก้ว และแจ่วบอง ซึ่งนักท่องเที่ยวได้ชิม ได้ช็อป ข้าวจี่กันอย่างเอร็ดอร่อย

"กาฬสินธุ์" ตลาดไหมแพรวาสุดเฟื่องส่งต่อคนรุ่นใหม่ ขายออนไลน์ยอดพุ่ง!!

บรรยากาศการจำหน่ายผ้าไหมแพรวา ราชินีแห่งไหม และผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมแพรวาทอมือบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ยังเฟื่องฟูและลื่นไหล ผู้ประกอบการยุคบุกเบิกยังดำเนินกิจการต่อเนื่อง ขณะที่หลายรายส่งไม้ต่อให้ลูกหลานสืบสาน เป็นมรดกตกทอดทางภูมิปัญญาล้ำค่า จำหน่ายทั้งหน้าร้านและทางออนไลน์ รายได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 4 ล้านบาท

วันที่ 6 ธันวาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการจำหน่ายผ้าไหมแพรวา ราชินีแห่งไหม และผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมแพรวา ที่ได้จากการทอด้วยมือชาวผู้ไทบ้านโพน ต.โพน อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ ยังได้รับความนิยมจากลูกค้าใกล้ไกลไม่เสื่อมคลาย ซึ่งพบว่าในทุก ๆ วัน มีทั้งเดินทางมาเลือกซื้อด้วยตนเอง และติดต่อซื้อขายทางออนไลน์ โดยผู้ประกอบการรายใหญ่ 8 ราย ได้เปิดช่องทางการตลาดผ่านโซเชียลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เฟซบุค กลุ่มไลน์ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยังระบุว่ายอดจำหน่ายสูงกว่าขายหน้าร้านหลายเท่าตัว รายได้รวมวันละ 1 แสนถึง 1 แสน 5 หมื่นบาท หรือเดือนละ 3 ล้านถึง 4 ล้าน 5 แสนบาท

นางสาวอุมาพร ลามุล  อายุ 31 ปี เจ้าของร้านมรดกภูไท เลขที่ 149 หมู่ 2 บ้านโพน ต.โพน อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า เดิมครอบครัวตนเปิดร้านขายอุปกรณ์และสินค้าทางการเกษตร ควบคู่กับปลูกพุทราและผลไม้ ต่อมาเห็นตลาดผ้าไหมแพรวาเฟื่องฟูมาก ประกอบกับตนเป็นคนรุ่นใหม่ จึงมีแนวคิดว่าผ้าไหมแพรวา ต้องไม่ใช่แค่ผ้าซิ่นหรือสไบ ผ้าไหมแพรวาต้องไปไกลกว่านี้ ตลาดต้องกว้างไกลกว่าที่ผ่านมา ทุกเพศ ทุกวัย สามารถตัดเย็บเป็นเดรสสูท หรือเสื้อผ้าสวมใส่ได้ทุกโอกาส ในปี 2561 จึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการค้าขายมาจำหน่ายผ้าไหมแพรวา รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมแพรวา เพียงระยะเวลา 4 ปี ประสบผลสำเร็จทั้งยอดขาย จำหน่ายทั้งหน้าร้านและทางออนไลน์ สามารถพูดได้ว่าถึงแม้ที่ผ่านมาสภาพเศรษฐกิจจะอย่างไร หรือประสบสถานการณ์โควิด-19 ยังไง แต่การค้าขายผ้าไหมแพรวาไม่กระทบ ยังไปได้เรื่อย ๆ ภูมิใจที่ผ้าไหมแพรวา สามารถสร้างอาชีพและรายได้สู่ชุมชน ไม่ต่างจากเปลี่ยนอาชีพจากไร่นาสู่ผ้าทอ ทำให้ชาวบ้านโพนมีรายได้ยั่งยืน

'บิ๊กป้อม' ลุย 'กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด' เร่งแก้ปัญหาน้ำ พื้นที่เสี่ยง-มอบสิทธิ์ที่ดินทำกิน ลั่น! ต้องช่วยแก้ปัญหาจำนองขายฝากที่ดิน อย่าให้หลุดมือเกษตรกร

เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. ที่ ศาลากลางจ.กาฬสินธุ์ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม น.ส.ตรีนุชเทียนทอง รมว.ศึกษาธิการนายสันติ พร้อมพัฒน์ และคณะ ลงพื้นที่จ.กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด เพื่อตรวจติดตามการบริหารจัดการแก้ปัญหาที่ดินทำกินและการฟื้นฟูแหล่งน้ำ และรับฟังปัญหาจากประชาชนในพื้นที่ มีตัวแทนหน่วยงานเกี่ยวข้องรอต้อนรับ

โดยรับฟังการบรรยายสรุปภาพรวม พบปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำ ต้นทุนการเกษตร การบริโภคจากการขยายตัวของชุมชนเมือง โดยเฉพาะนอกเขตชลประทาน ซึ่งในปี 61-64 มีแผนงานพัฒนาพื้นที่แล้ว 1,152 โครงการ วงเงินกว่า 3,100 ล้านบาท พื้นที่รับประโยชน์ 107,582 ไร่ ประชาชนได้ประโยชน์กว่า 48,000 ครอบครัว และอยู่ระหว่างดำเนินการ 165 โครงการ โดยงบกลางกว่า 280 ล้าน ทั้งการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำ ระบบกระจายน้ำและระบบป้องกันน้ำท่วม สำหรับปี 66-67 มี 3 โครงการ ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 912 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์อีก 3,100 ครอบครัว พื้นที่กว่า 5,800 ไร่

'เยาวชนวิจิตรแพรวา' สานภูมิปัญญาผ้าไหมไทย

โรงเรียนชุมชนโพนพิทยา อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาระท้องถิ่น การทอผ้าไหมแพรวา ส่งต่อภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองให้กับเยาวชนร่วมสืบสาน พร้อมเปิดช่องทางการจำหน่ายริวิวขายทางออนไลน์ สร้างรายได้ระหว่างเรียนและเป็นทุนการศึกษาในอนาคต

วันที่ 15 ธันวาคม 2565 ที่โรงเรียนชุมชนโพนพิทยา ต.โพน อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ นายวัฒนะ บุตรสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนโพนพิทยา พร้อมด้วยนางดาราพร บุตรสุวรรณ์ หัวหน้ากลุ่มสาระการงานอาชีพ และบุคลากรครูกลุ่มสาระท้องถิ่น การทอผ้าไหมแพรวา ดูแลความเรียบร้อยการเรียนการสอนในชั่วโมงเรียนของชุมนุมทอผ้าไหมแพรวา โดยมีนักเรียนระดับอนุบาลถึงชั้น ม.3 ให้ความสนใจเรียนเป็นจำนวนมาก บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก

นายวัฒนะ บุตรสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนโพนพิทยา กล่าวว่า โรงเรียนชุมชนโพนพิทยา เป็นสถานศึกษาประจำชุมชน ซึ่งมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นคือมารยาทสวยด้วยชุดผู้ไทย ทั้งนี้เนื่องจากชาวบ้านโพน มีเอกลักษณ์ด้านการทอผ้าไหมแพรวาด้วยภูมิปัญญาชาวผู้ไทมาตั้งแต่ดั้งเดิม เริ่มต่อยอดขยายผลหลังสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ทรงรับไว้ในโครงการศิลปาชีพตั้งแต่ปี 2520

ต่อมามีการพัฒนาและออกแบบลายผ้าไหมแพรวา จนได้ชื่อว่าราชินีแห่งไหม โดยในชุมชน ประชาชน ผู้ปกครองเด็กนักเรียน มีการทอผ้าไหมแพรวาเป็นอาชีพ ที่เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนของการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม การสาวไหม การปั่นเส้นไหม ย้อมสีธรรมชาติ และขั้นตอนสุดท้ายคือ ทอมือ ผ้าไหมแพรวา ถือเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมล้ำค่าและควรรักษา เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังร่วมสืบสาน จึงได้จัดหลักสูตรท้องถิ่นทอผ้าไหมแพรวาในโรงเรียนขึ้น โดยจัดขึ้นมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2539

(กาฬสินธุ์) ยุติธรรมกาฬสินธุ์ เร่งเดินหน้าช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม

(20 ธ.ค.65) คณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย ให้ความช่วยเหลือค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายจำเลยในคดีอาญาไตรมาสสุดท้ายของปี จำนวน 21 ราย วงเงิน 382,944 บาท พร้อมเดินหน้าจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ประจำสถานีตำรวจ ตามนโยบายยุติธรรมเชิงรุก สร้างสุขให้ประชาชน ณ ห้องประชุมผาเสวย ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ ชั้น 2

ฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ (กพยจ.) ได้จัดประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ 3 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมจังหวัด ครั้งที่ 4/2565, คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัด (กองทุนยุติธรรม) ครั้งที่ 10/2565 และคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย ครั้งที่ 10/2565 โดยมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง

นายประหยัด ไม้แพ ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติ จ.กาฬสินธุ์ ปฏิบัติหน้าที่ยุติธรรม จ.กาฬสินธุ์ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมระดับจังหวัด กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการทั้ง 3 คณะดังกล่าว เพื่อให้ทราบข้อมูล ผลการดำเนินงาน การพิจารณาและให้ความช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงยุติธรรม โดยมีส่วนราชการกระบวนการยุติธรรม เช่น เรือนจำจังหวัด, อัยการจังหวัด, คุมประพฤติ, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน, บังคับคดี, ยุติธรรมจังหวัด รายงานผลการดำเนินงานในรอบไตรมาสที่ผ่านมา

ผู้ว่าฯ กาฬสินธุ์ ควง กงสุลจีน ร่วมมอบถุงยังชีพของขวัญปีใหม่แก่ชาวห้วยผึ้ง

ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ นำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ส่วนราชการ คณะกรรมการเหล่ากาชาด รัฐวิสาหกิจ ให้บริการประชาชนที่กำลังประสบภัยหนาว พร้อมจัดโครงการจังหวัดกาฬสินธุ์บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ขณะที่กงสุลใหญ่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดขอนแก่น ร่วมมอบถุงยังชีพเป็นของขวัญปีใหม่ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับกลุ่มเปราะบาง

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2565 เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ โรงเรียนหนองอีบุตรไพรเวทย์ ต.หนองอีบุตร อ.ห้วยผึ้ง จ.กาฬสินธุ์ นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผวจ.กาฬสินธุ์ นำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว.ให้บริการตรวจสุขภาพ พร้อมจัดโครงการจังหวัดกาฬสินธุ์บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน โดยมีนายไพโรจน์ จิตรจักร นายอำเภอห้วยผึ้ง ผู้นำชุมชน ประชาชน รับบริการ นอกจากนี้  มร.เลี้ยว จุ้นหยุน (Liao Junyun) กงสุลใหญ่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำ จ.ขอนแก่น ยังได้นำถุงยังชีพมามอบให้กับประชาชนกลุ่มเปราะบาง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนอีกด้วย

โดยนายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผวจ.กาฬสินธุ์ ได้เป็นประธานเปิดกรวยถวายราชสักการะ ต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี จากนั้นได้ร่วมกับ มร.เลี้ยว จุ้นหยุน (Liao Junyun) กงสุลใหญ่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำ จ.ขอนแก่น และส่วนราชการ มอบถุงยังชีพ “จีน-ไทย มิใช่อื่นไกล” ของกุงสุลใหญ่ ถุงยังชีพของเหล่ากาชาด จ.กาฬสินธุ์ มอบพันธุ์ปลา และหนังสืออนุญาตให้ทำประโยชน์ในที่ดิน เงินช่วยเหลือครอบครัวผู้เปราะบาง และเดินชมบูธของส่วนราชการต่าง ๆ ที่ตั้งโต๊ะให้คำปรึกษาแก่ประชาชน เช่น ศูนย์ดำรงธรรม สำนักงานที่ดิน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานขนส่ง และสำนักงาน ปภ. เป็นต้น

ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดผู้บริหารท้องถิ่นกาฬสินธุ์

เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ แถลงผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 1 เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2565 สร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย "STRONG จิตพอเพียง ต้านทุจริต" ภารกิจด้านปราบปรามการทุจริตตรวจสอบเบื้องต้น 97 เรื่อง ไต่สวน 41 เรื่อง พร้อมมูลความผิดผู้บริหารท้องถิ่น 2 ราย

ณ ห้องประชุมฟ้าแดดสงยาง ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ นายปราชญา อุ่นเพชรวรากร รอง ผวจ.กาฬสินธุ์ ว่าที่ร้อยตรีสมบูรณ์ หัสดม ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำ จ.กาฬสินธุ์ กันแถลงผลการดำเนินงานในรอบไตรมาสที่ 1 เดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2565 ภารกิจด้านการป้องกันการทุจริต สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายเฝ้าระวังการทุจริตภายใต้โครงการ "STRONG จิตพอเพียง ต้านทุจริต" การนิเทศติดตามการขับเคลื่อนการประเมิน ITA ของหน่วยงานภาครัฐ โดยมีส่วนราชการ ภาคประชาชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมประชุมและรับฟังผลการดำเนินงานอย่างพร้อมเพรียง

นายปราชญา อุ่นเพชรวรากร รอง ผวจ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ผลการดำเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริต มีเรื่องตรวจสอบเบื้องต้น 47 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ 8 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบ 89 เรื่อง และเรื่องไต่สวนอยู่ในความรับผิดชอบ 41 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ 7 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ 34 เรื่อง และเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดและรายงานความเคลื่อนไหวคดี จำนวน 4 เรื่อง ของอดีตนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ 2 ราย ที่ปลอมแปลงเอกสารทางราชการ ใช้อำนาจโดยมิชอบ เรียกรับเงินเพื่อช่วยเหลือในการบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานจ้าง และอนุมัติจ่ายเงินขาดสะสมเพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการ  ซึ่งการชี้มูลความผิดทางอาญาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังไม่ถือเป็นที่สุด ผู้ถูกกล่าวหายังเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด

เงินสะพัดต้อนรับปีใหม่!! ผลิตภัณฑ์แปรรูปปลาเขื่อนลำปาว กาฬสินธุ์ สุดขายดี

วันนี้ (4 ม.ค. 66) ลุยเยี่ยมชุมชนบ้านท่าเรือ ตำบลภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ หมู่บ้านแปรรูปปลาส่งตลาดทั่วประเทศ เผยปีนี้ยอดขายพุ่ง ขณะที่ถนนเศรษฐกิจบ้านโนนบุรีเผยยอดขายต่ำ ๆ วันละ 1 หมื่น สวนผักเหมายกแปลงตลอดช่วงเทศกาลปีใหม่ สินค้ายอดฮิต ปลาแห้ง, ปลาร้า, ปลาส้ม, พุทรา และปลานิลสด ๆ จากเขื่อนลำปาว ขายดีทะลุเป้า

ที่บ้านท่าเรือภูสิงห์ ต.ภูสิงห์ อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ นางสาวแววตา นระทัด นายอำเภอสหัสขันธ์  ลงเยี่ยมกลุ่มแปรรูปปลาบ้านท่าเรือภูสิงห์ แหล่งผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปปลาเขื่อนลำปาว แหล่งใหญ่ของ อ.สหัสขันธ์ ทั้งปลาส้ม, ปลาแห้ง, ปลาร้า และแจ่วบอง โดยมีนายไพโรจน์ จัตตุเทน  ผู้ใหญ่บ้านบ้านท่าเรือภูสิงห์ หมู่ 9 ต.ภูสิงห์ พาเยี่ยมชม ซึ่งชาวบ้านกำลังเร่งมือห่อส้มปลาด้วยใบตองส่งตลาด เนื่องจากตั้งแต่เข้าเทศกาลปีใหม่ มีออเดอร์เข้ามาจำนวนมาก

จากนั้น ไปเยี่ยมแม่ค้าที่จุดทางเข้าแหลมโนนวิเศษ ที่ร้านแม่ใจปลาส้ม ซึ่งเป็นแหล่งรวมของฝากขึ้นชื่อของ อ.สหัสขันธ์ พบว่าสถานการณ์ปีนี้ยอดขายดีมาก เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค.65 เป็นต้นมา  ซึ่งปลาส้มจะขายดีมาก โดยเฉพาะปลาส้มห่อใบตองมัดตอก ซึ่งใช้วัสดุธรรมชาติ 100% นอกจากนี้ ยังมีปลาแห้ง, ปลาซิวแก้วตากแห้ง, ปลาร้า และแจ่วบอง โดยถนนเส้นนี้สองฝั่งข้างทางประมาณ 10 ร้านค้า ซึ่งขายในราคาเดียวกัน ผลิตภัณฑ์เดียวกัน

กลุ่มสตรีสูงอายุ จ.กาฬสินธุ์ อนุรักษ์ทอซิ่นไหมโบราณ สร้างรายได้ของฝากเทศกาล

พบกลุ่มสตรี ผู้สูงอายุ ในตำบลหนองแวง อำเภอสมเด็จ และตำบลหนองหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ รวมกลุ่มประดิษฐ์ลายผ้าซิ่น พร้อมทอมือผ้าซิ่นไหม ทั้งลายโบราณและลายประยุกต์ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญา สร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นสินค้าหัตถกรรมยอดฮิตเป็นของขวัญปีใหม่ ขณะที่คุณยายต้นตำรับทอซิ่นไหม นำผ้าซิ่นมรดกสุดหวงอายุกว่า 100 ปีออกมาโชว์เป็นขวัญตา ระบุไม่ยอมขายตั้งใจเก็บไว้เป็นมรดกให้ลูกหลาน

เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการติดตามบรรยากาศหลังเทศกาลปีใหม่ ใน จ.กาฬสินธุ์ ที่ส่วนใหญ่ลูกหลาน ที่เดินทางจากที่ทำงานมาเยี่ยมบ้านในช่วงหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ หลายคนกำลังเตรียมตัวเดินทางกลับไปทำงานตามปกติ ซึ่งจะหาของขวัญหรือของฝาก ไปมอบให้คนที่รักและนับถือตามธรรมเนียม โดยเฉพาะผ้าซิ่น ผ้าโสร่ง ซึ่งเป็นเครื่องนุ่งห่มประดับกายที่มีคุณค่า เหมาะเป็นของฝากมาทุกเทศกาลและทุกยุคทุกสมัย ก็ยังได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย โดยผ้าซิ่นไหมแท้ ที่ผลิตด้วยการทอมือสืบสานมาตั้งแต่บรรพบุรุษโบราณของกลุ่มสตรีแม่บ้าน ผู้สูงอายุ ชาวบ้านโนนชาด ต.หนองแวง อ.สมเด็จ และบ้านหนองห้าง บ้านหนองแก่นทราย

นางประไพ บุญฤทธิ์ อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 41 บ้านโนนชาด ต.หนองแวง อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า การทอผ้าซิ่นไหมในพื้นที่ ถือเป็นมรกดทางภูมิปัญญาชาวอีสาน สืบสานมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ทำมือเองทุกขั้นตอนตั้งแต่ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม กระทั่งเข้าสู่กระบวนการผลิตเส้นไหม สาวไหม ย้อมไหม กรอไหม ออกแบบลายไหม ทอผ้าซิ่นสำหรับสตรีสวมใส่ รวมทั้งทอโสร่งไหมสำหรับสุภาพบุรุษสวมใส่


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. Esan Time Thailand
Take Me Top