Wednesday, 1 May 2024
ในหลวงร9

5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงลาผนวช รวมเวลาทรงผนวชทั้งสิ้น 15 วัน

5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลาผนวช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร รวมเวลาทรงผนวชทั้งสิ้น 15 วัน

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเข้าพิธีบรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2499 และทรงได้รับสมญานามจากพระราชอุปัชฌาจารย์ ว่า “ภูมิพโล” ในระหว่างที่ทรงดำรงสมณเพศ ทรงประทับ ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

ระหว่างที่ทรงดำรงสมณเพศ พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระราชกิจ เช่นเดียวกับพระภิกษุทั้งหลายอย่างเคร่งครัด เช่น เสด็จลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเช้า–เย็น ตลอดจนทรงสดับพระธรรมและพระวินัยนอกจากนี้ยังได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจพิเศษอื่นๆ อาทิ 
 

7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม ในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช 2539 ที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ครองราชย์สมบัติเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด

ทั้งนี้ ในรัชสมัย ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2555 จำนวน 15 ครั้ง และจัดขบวนเรือพระราชพิธี จำนวน 2 ครั้ง 
 

14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวัน ‘พระบิดาแห่งฝนหลวง’ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวง ร.9

67 ปีแห่งการกำเนิดฝนหลวงพระราชทาน นับจากวันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 เป็นวันที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรางมีทรงมีพระราชดำริที่จะคิดค้น วิจัย หาวิธีการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริที่จะคิดค้น วิจัย หาวิธีการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน ในฐานะทรงเป็น 'พระบิดาแห่งฝนหลวง' และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น 'วันพระบิดาแห่งฝนหลวง' เพื่อร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ และจารึกไว้เป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย       

เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการ อุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร จากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง นับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทำให้ทรงพบเห็นว่า ภาวะแห้งแล้งได้มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นตามลำดับ เพราะการตัดไม้ทำลายป่า เป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรในทุกภาคของประเทศ ส่งผลถึงความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ คิดเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี  

ทั้งนี้ ระหว่างทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน และทางอากาศยาน พระองค์ทรงสังเกตเห็นว่า มีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดเป็นฝนตกได้  
 

4 ธันวาคม ‘วันสิ่งแวดล้อมไทย’ รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวง ร.9 ที่ทรงมีพระราชดำรัสถึงสิ่งแวดล้อมไทย

วันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปี เป็น ‘วันสิ่งแวดล้อมไทย’ กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีพระราชดำรัสถึงสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

วันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปี เป็น ‘วันสิ่งแวดล้อมไทย’ กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีพระราชดำรัสถึงสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลก เมื่อครั้งเสด็จออกให้คณะบุคคลต่าง ๆ เข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลา ดุสิดาลัย พระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2532 เพื่อตรัสเตือนคนไทยให้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก โดยเฉพาะปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และให้ถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องร่วมมือกันแก้ไข้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้มีพระราชดำรัสใจความตอนหนึ่งว่า

“วันก่อนนี้เราพูดถึงปัญหาว่า เมืองไทยนี้อีกหน่อยจะแห้ง ไม่มีน้ำเหลือจะต้องไปซื้อน้ำจากต่างประเทศซึ่งก็อาจเป็นได้ แต่เชื่อว่าจะไม่เป็นอย่างนั้นเพราะว่าถ้าคำนวณดูน้ำในประเทศไทยที่ไหลเวียนนั้นยังมีอยู่ เพียงแต่ต้องบริหารให้ดี ถ้าบริหารให้ดีแล้ว มีเหลือเฟือ มีตัวเลขแล้ว แต่ว่ายังไม่ได้ไปแยกแยะตัวเลข เหมือนที่ได้แยกแยะตัวเลขของคาร์บอน น้ำนั้นน่ะ ในโลกมีมากแล้วที่ใช้จริงๆ มันเป็นเศษหนึ่งส่วนหมื่นของน้ำที่มีอยู่ อาจไม่ถึง ก็ต้องบริหารให้ดีเท่านั้นเอง เดี๋ยวนี้ก็มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำ น้ำนี้จะต้องใช้ให้ดี คือ น้ำนั้นมีคุณอย่างที่เราใช้สำหรับบริโภค น้ำสำหรับการเกษตร น้ำสำหรับอุตสาหกรรมทั้งหมดนี้ต้องใช้น้ำที่ดี หมายความว่าน้ำที่สะอาด”

“น้ำมีมากในโลก เป็นน้ำทะเลส่วนใหญ่ซึ่งจะใช้อย่างนี้ไม่ได้แล้ว นอกจากนั้นเดี๋ยวนี้ที่กำลังมีมากขึ้นก็คือ น้ำเน่า จะต้องป้องกันไม่ให้มีน้ำเน่า น้ำเน่าจะมีอยู่เสมอ แต่อย่าให้น้ำเน่านั้นเป็นโทษมากเกินไป ฉะนั้น นี่เป็นอีกโครงการหนึ่งที่เราจะต้องปฏิบัติ แล้วก็ถ้าไม่จัดการโดยเร็วเราจะนอนอยู่ในน้ำเน่า น้ำดีจะไม่มีใช้แม้จะไปซื้อน้ำจากต่างประเทศมา ก็กลายเป็นน้ำเน่าหมด เพราะว่าเอามาใช้โดยไม่ได้ระมัดระวัง”

“ถ้าเรามีน้ำแล้วมาใช้อย่างระมัดระวังข้อหนึ่ง และควบคุมน้ำที่เสียอย่างดีอีกข้อหนึ่ง ก็อยู่ได้ เพราะว่าภูมิประเทศของประเทศไทย ‘ยังให้’ ใช้คำว่า ‘ยังให้’ ก็หมายความว่า ยังเหมาะแก่การอยู่กินในประเทศนี้ ไม่ใช่ไม่เหมาะ ประเทศไทยนี้เป็นที่ที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาเอาไว้ไม่ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทรายก็ป้องกันได้ ทำได้”

5 ธันวาคม วันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ

5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และภายหลังการเสด็จสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 สำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เรื่อง กำหนดวันสำคัญของชาติไทย มีใจความสำคัญให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสำคัญของชาติไทย ดังนี้ 

1. เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 

2. เป็นวันชาติ 

3. เป็นวันพ่อแห่งชาติ

โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป 

ประมวลภาพบรรยายกาศวันพ่อแห่งชาติ ประจำปี 2565

เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 5 ธ.ค.2565 ที่บริเวณศาลหลักเมืองขอนแก่น เขตเทศบาลนครขอนแก่น นายไกรสร กองฉลาด ผวจ.ขอนแก่น พร้อมด้วยพล.ต.ต.อรรคพงษ์ พิมลศิริ รอง ผบช.ภ. 4 และนายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น นำประชาชนชาว จ.ขอนแก่น พร้อมใจสวมใส่เสื้อสีเหลืองร่วมกันประกอบพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติไทย และวันพ่อแห่งชาติ ประจำปี 2565 โดยมี พระเถระ 10 รูป พระสงฆ์-สามเณร 88 รูป รวมจำนวน 99 รูป รับบิณฑบาต

ขณะเดียวกัน ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ นำข้าราชการ ประชาชน ทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2565

ขอนแก่นจัดกิจกรรมวันดินโลก ประจำปี 2565 สืบสานพระราชปณิธานในหลวง ร.9 สู่การต่อยอดแนวทางการดำเนินงานและการใช้ประโยชน์จากดินให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 5 ธ.ค.2565 ที่ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ 19 พอเพียง บ.โนนสวรรค์ ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น นายไกรสร กองฉลาด ผวจ.ขอนแก่น เป็นประธานเปิดกิจกรรมวันดินโลกประจำปี 2565 พร้อมทั้งร่วมประกาศเจตนารมณ์ของจังหวัดในการรณรงค์ส่งเสริมกิจกรรมวันดินโลก และการจัดกิจกรรมให้ความรู้ในการพัฒนาและบำรุงดิน รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากดินในรูปแบบต่างๆ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชาวบ้านในเขต ต.พระลับ เข้าร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียง

นายไกรสร กองฉลาด ผวจ.ขอนแก่น กล่าวว่า งานวันดินโลกเป็นกิจกรรมการรณรงค์ส่งเสริมและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อที่จะกระตุ้นให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรดิน และเพื่อให้เกิดจิตสำนึกในการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน ซึ่งองค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศรับรองให้วันที่ 5 ธ.ค.ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระบรมนาถบิพตร เป็นวันดินโลก ซึ่งจังหวัดมีความซาบซึ่งในพระปรีชาสามารถ และพระมหากรุณาธิคุณ ทั้งยังคงตระหนักถึงความสำคัญของดิน ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก เป็นที่มาของแหล่งผลิตอาหารและเป็นรากฐานของระบบนิเวศที่เอื้อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อความสมดุลของโลก

15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ เปิด ‘ตึกวชิราลงกรณธาราบำบัด’ รพ.พระมงกุฎเกล้า

ครบรอบ 69 ปี ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จเปิด ‘ตึกวชิราลงกรณธาราบำบัด’ รพ.พระมงกุฎเกล้า อาคารที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับผู้ป่วย และต่อสู้กับสภาวะโรคโปลิโอระบาดในขณะนั้น

ย้อนไปในอดีต ประเทศไทยเคยผ่านสถานการณ์การระบาดของโรคภัยต่าง ๆ มาไม่น้อย เหมือนเมื่อครั้งหนึ่ง ที่ประสบกับภาวะโรคโปลิโอระบาด แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงเล็งเห็นถึงปัญเหล่าของพสกนิกร จึงมีพระราชดำริให้จัดการแก้ไข และขจัดโรคนี้ให้หมดไป

เรื่องราวของโรคโปลิโอระบาดในเมืองไทย เกิดขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2495 ขณะนั้นเมืองไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคโปลิโอ หรือโรคไขสันหลังอักเสบเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ตลอดจนเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ในการรักษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้จัดซื้อเครื่องช่วยหายใจจากต่างประเทศ จำนวน 3 เครื่องให้กับผู้ป่วย รวมถึงพระราชทานเงินจัดตั้ง ‘กองทุนโปลิโอสงเคราะห์’ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคนี้ให้หายเป็นปกติ


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. Esan Time Thailand
Take Me Top