Friday, 26 April 2024
ECONBIZ NEWS

เงินสะพัดต้อนรับปีใหม่!! ผลิตภัณฑ์แปรรูปปลาเขื่อนลำปาว กาฬสินธุ์ สุดขายดี

วันนี้ (4 ม.ค. 66) ลุยเยี่ยมชุมชนบ้านท่าเรือ ตำบลภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ หมู่บ้านแปรรูปปลาส่งตลาดทั่วประเทศ เผยปีนี้ยอดขายพุ่ง ขณะที่ถนนเศรษฐกิจบ้านโนนบุรีเผยยอดขายต่ำ ๆ วันละ 1 หมื่น สวนผักเหมายกแปลงตลอดช่วงเทศกาลปีใหม่ สินค้ายอดฮิต ปลาแห้ง, ปลาร้า, ปลาส้ม, พุทรา และปลานิลสด ๆ จากเขื่อนลำปาว ขายดีทะลุเป้า

ที่บ้านท่าเรือภูสิงห์ ต.ภูสิงห์ อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ นางสาวแววตา นระทัด นายอำเภอสหัสขันธ์  ลงเยี่ยมกลุ่มแปรรูปปลาบ้านท่าเรือภูสิงห์ แหล่งผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปปลาเขื่อนลำปาว แหล่งใหญ่ของ อ.สหัสขันธ์ ทั้งปลาส้ม, ปลาแห้ง, ปลาร้า และแจ่วบอง โดยมีนายไพโรจน์ จัตตุเทน  ผู้ใหญ่บ้านบ้านท่าเรือภูสิงห์ หมู่ 9 ต.ภูสิงห์ พาเยี่ยมชม ซึ่งชาวบ้านกำลังเร่งมือห่อส้มปลาด้วยใบตองส่งตลาด เนื่องจากตั้งแต่เข้าเทศกาลปีใหม่ มีออเดอร์เข้ามาจำนวนมาก

จากนั้น ไปเยี่ยมแม่ค้าที่จุดทางเข้าแหลมโนนวิเศษ ที่ร้านแม่ใจปลาส้ม ซึ่งเป็นแหล่งรวมของฝากขึ้นชื่อของ อ.สหัสขันธ์ พบว่าสถานการณ์ปีนี้ยอดขายดีมาก เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค.65 เป็นต้นมา  ซึ่งปลาส้มจะขายดีมาก โดยเฉพาะปลาส้มห่อใบตองมัดตอก ซึ่งใช้วัสดุธรรมชาติ 100% นอกจากนี้ ยังมีปลาแห้ง, ปลาซิวแก้วตากแห้ง, ปลาร้า และแจ่วบอง โดยถนนเส้นนี้สองฝั่งข้างทางประมาณ 10 ร้านค้า ซึ่งขายในราคาเดียวกัน ผลิตภัณฑ์เดียวกัน

“สต็อกโฮล์ม” เอสเอ็มอีฟาร์มแพะมหาสารคาม ผู้บุกเบิกฟาร์มแพะครบวงจรภาคอีสานรายแรก ๆ ของไทย

(4 ม.ค.66) ทำความรู้จักกับธุรกิจฟาร์มแพะครบวงจรภาคอีสานรายแรก ๆ ของไทยอย่าง “สต็อกโฮล์ม” เอสเอ็มอีจากจังหวัดมหาสารคาม ที่เริ่มต้นด้วยการเปิดร้านอาหารสัตว์และต่อยอดจนเกิดเป็นฟาร์มแพะครบวงจรในที่สุด พร้อมกับมองเห็นโอกาสการเติบโตของธุรกิจฟาร์มแพะในอนาคต เนื่องจากผลิตภัณฑ์จาก “แพะ” มีทิศทางตลาดเติบโตสูง จากความนิยมรับประทานเนื้อและนม รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปที่เพิ่มขึ้น ผลักดันให้มีผู้ประกอบการสนใจเข้ามาลงทุนทำธุรกิจฟาร์มเลี้ยงแพะ จำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

สำหรับ “สต็อกโฮล์ม” (Stockholm) เอสเอ็มอีจาก จ.มหาสารคาม บุกเบิกธุรกิจฟาร์มเลี้ยงแพะเป็นรายแรก ๆ ของเมืองไทย และพัฒนาจนยืนหนึ่งด้วยการเป็นฟาร์มเลี้ยงแพะครบวงจร ต้นแบบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำแห่งเดียวในพื้นที่ภาคอีสาน โดยเฉพาะการเป็นศูนย์ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งแพะ และต่อยอดธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง มีส่วนสำคัญในการช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่คนท้องถิ่น โดย SME D Bank ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย เป็นเพื่อนร่วมทาง สนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง

คุณเยาวลักษณ์ แดนพันธ์ หรือ “เจี๊ยบ” เจ้าของกิจการ เผยเส้นทางธุรกิจสต็อกโฮล์ม เริ่มจากเปิดร้านขายสินค้าการเกษตร โดยเฉพาะอาหารสัตว์ อยู่ที่ อ.เมือง จ.มหาสารคาม ประกอบกับส่วนตัว เรียนจบด้านสัตวศาสตร์ จึงนำมารู้ มาขยายธุรกิจ ช่วยเสริมเกื้อหนุนกับธุรกิจเดิม ด้วยการทำฟาร์มเลี้ยง “แพะขุน” อยู่ที่ ต.หนองเรือ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม เพราะมองแนวโน้มสินค้าจากแพะยังเป็นตลาดใหม่ในเมืองไทย โอกาสยังเปิดอีกกว้าง รวมถึง ข้อดีของการเลี้ยงแพะ มีวงจรตั้งท้องเพียง 5 เดือน ทำให้สามารถขายแพะได้ถึง 2 รอบต่อปี

ทั้งนี้เธอได้นำความรู้ด้านสัตวศาสตร์ มายกระดับฟาร์มเลี้ยงสู่ศูนย์ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งแพะ ที่ได้มาตรฐานกรมปศุสัตว์ ซึ่งถือเป็นรายแรกของภาคอีสาน และเป็นรายที่สองของประเทศไทยจากทั้งหมดสามราย เปิดจำหน่ายน้ำเชื้อแพะให้แก่ผู้สนใจที่จะทำธุรกิจฟาร์มแพะ นำน้ำเชื้อ ไปผสมเทียมเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป

โดยพ่อพันธุ์นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีพระเอก คือ “แซมมี่ บอย” พันธุ์ Chammy America Bore Goat สุดยอดพ่อพันธุ์ สายแชมป์ นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา ตอนอายุ 8 เดือน ในราคา 5 แสนบาท ปัจจุบันอายุประมาณ 3 ปี ถ้าจะขาย ราคาไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท

ขอนแก่นเตรียมจัดงาน Khon Kaen Soft Power Countdown 2023 “ชมเฮือนโบราณ ชิมอาหารในตำนาน สืบสานผ้าไทย”

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2565 เวลา 17.00 น. ที่บริเวณเฮือนโบราณ หน้าศาลากลางจังหวัด ไดัมีการจัดงานแถลงข่าวงาน Khon Kaen Soft Power Countdown 2023 “ชมเฮือนโบราณ ชิมอาหารในตำนาน สืบสานผ้าไทย” จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29-31 ธันวาคม 2565 ณ บริเวณเฮือนโบราณ หน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น โดยมีนายธีรศักดิ์ ทีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครขอนแก่น, นายธาดา พรหมสาขา ณ สกลนคร รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น, นายเสกสรร ศรีไพรวรรณ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, พ.ต.ท.พิทักษ์เขต สิงห์พิทักษ์ รอง ผกก.จร.สภ.เมืองขอนแก่น, นายภพพล เกษมสันต์ ณ อยุธยา นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น และนายชาญณรงค์ บุริสตระกูล ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น ร่วมกันแถลงข่าวในครั้งนี้

สำหรับการจัดงาน Khonkaen Soft Power Countdown 2023 ภายใต้แนวคิด “ชมเฮือนโบราณ ชิมอาหารในตำนาน สืบสานผ้าไทย” จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2566 ณ บริเวณสนามด้านหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น โดยมีกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมเทศกาลอาหารในตำนาน, อาหารนานาชาติ, อาหารเลิศล้ำจากกงสุลประจำจังหวัดขอนแก่น (จีน, เวียดนาม และลาว), อาหารสุดยอดความอร่อยของ 24 องค์กรจีน, อาหารที่ได้รับมิชลินสตาร์ของชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารจังหวัดขอนแก่น, อาหารรสเด็ดของเมืองขอนแก่น

พาณิชย์ฯ ขอนแก่น จัดตลาดนัดข้าวเปลือก ช่วยชาวนาขายข้าวได้ราคาดี มีรายได้

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2565 นายชาญยุทธ วันดี พาณิชย์จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับนายณัฐพล แป้นนอก สหกรณ์จังหวัดขอนแก่น ร่วมเป็นประธานเปิดตลาดนัดข้าวเปลือก ปีการผลิต 2565/66 จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 2/2566 ณ สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส. ขอนแก่น จำกัด ต.บ้านทุ่ม อ.เมืองขอนแก่น

ซึ่งการจัดงานดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรมในการจำหน่ายข้าวเปลือก ทั้งในด้านราคา การชั่งน้ำหนัก การวัดความชื้น และการหักสิ่งเจือปน รวมทั้งส่งเสริมพัฒนาเกษตรกรให้มีความเข้าใจในระบบการซื้อขายในตลาด เพื่อนำไปสู่การผลิตข้าวเปลือกให้ได้คุณภาพ และตรงกับความต้องการของตลาด

‘ศักดิ์สยาม’ ตั้งเป้า 3 ปี ไทยเป็นฮับในอาเซียน ถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบราง

เมื่อไม่นานมานี้ (15 ธ.ค. 65) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ‘ผนึกกำลังพันธมิตรพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางของภูมิภาค’ ระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) และกลุ่มธุรกิจระบบรางฝรั่งเศส โดยการสนับสนุนของสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ ไม่มีกำหนดกรอบระยะเวลา เป็นการต่อยอดความร่วมมือการผนึกกำลังพัฒนาศักยภาพบุคลากร เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างสถาบันวิจัยฯ และกลุ่มอุตสาหกรรมระบบรางจากประเทศฝรั่งเศส 5 บริษัท โดยเป็นบริษัทที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบราง ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับโลก

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ความร่วมมือนี้จะทำให้เกิดการทำงานร่วมกันที่เป็นรูปธรรมเรื่องต่าง ๆ ได้แก่

1.การสร้างสถาบันพัฒนาบุคลากรระบบราง ที่เป็นกลไกการพัฒนาบุคลากรระบบราง ทั้งระดับช่างเทคนิคทักษะสูง และระดับวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ โดยร่วมกับสถาบันและหน่วยงานเครือข่าย เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง

2.การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนฝรั่งเศส และภาคเอกชนไทย เพื่อสร้างอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนระบบรางภายในประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Thai First ของกระทรวงคมนาคม โดยไม่เพียงแค่ผลิตได้ แต่คาดหวังให้เกิดผู้ประกอบการไทยที่มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้

และ 3.การวิจัยและพัฒนาร่วมกัน และถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบรางชั้นแนวหน้าระหว่างกลุ่มธุรกิจระบบรางชั้นนำของฝรั่งเศส และเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย เพื่อส่งเสริม และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) การถ่ายทอด และการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมของภูมิภาคอาเซียนภายใน 2-3 ปีหลังจากนี้

คลังเปิดผลลงทะเบียน 'บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ' รอบใหม่

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากการประกาศผล “สถานะการลงทะเบียน” ของโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 เมื่อวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งเป็นข้อมูลของผู้ที่ลงทะเบียนและมีการแก้ไขข้อมูลในระหว่างวันที่ 5 กันยายน – 17 พฤศจิกายน 2565

โดยมีผู้ลงทะเบียนที่มีสถานะแสดงข้อความว่า “กระทรวงการคลังได้รับข้อมูลการลงทะเบียนของท่านครบถ้วนแล้ว” จำนวนทั้งสิ้น 21,016,770 ราย ผู้ลงทะเบียนที่มีสถานะแสดงข้อความว่า “สถานะการลงทะเบียนไม่สมบูรณ์” เนื่องจากข้อมูลของผู้ลงทะเบียนไม่ตรงตามฐานข้อมูลของกรมการปกครอง จำนวนทั้งสิ้น 1,386,423 ราย (คิดเป็นร้อยละ 6.60 ของผู้ลงทะเบียนที่มีข้อมูลครบถ้วนแล้ว)

ทั้งนี้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ลงทะเบียนกลุ่มดังกล่าว ที่มีการยื่นเอกสารครบถ้วนแต่ยังคงมีสถานะการลงทะเบียนไม่สมบูรณ์ รวมถึงเพื่อให้มีการตรวจสอบความถูกต้อง และความเป็นปัจจุบันของข้อมูลให้ได้มากที่สุด คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานราก และสังคมในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในโครงการฯ

จึงให้มีการตรวจสอบข้อมูลของผู้ลงทะเบียนที่มีสถานะการลงทะเบียนไม่สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง โดยผู้ลงทะเบียนกลุ่มดังกล่าวสามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนได้อีกครั้งในวันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2565 ที่หน่วยงานรับลงทะเบียนทั่วประเทศหรือตรวจสอบได้ด้วยตัวเองผ่านเว็บไซต์กระทรวงการคลัง

รัฐบาล อวดภาพรวม นโยบายแก้หนี้ครัวเรือน ยัน เดินหน้าต่อ เพื่อ ศก.ภาพรวม

เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.นายธนกร วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภาพรวมการดำเนินการ “ปี 2565 ปีแห่งการแก้หนี้” ภายใต้นโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ให้ทุกส่วนราชการ สถาบันการเงินภาครัฐและเอกชน ร่วมแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนให้ได้อย่างจริงจังนั้น ทำให้สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดพบว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาส 2 ปี 2565 เหลือ 88.2%  ลดลงจากไตรมาส 1 ปี 2565 ที่ 89.1% และไตรมาส 4 ปี 2564 ที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูงถึง 90% โดยหนี้ครัวเรือน 4 อันดับแรกยังคงเป็น 1.) เงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 34.6 ของหนี้ครัวเรือนรวม 2.) เงินกู้เพื่อการบริโภคอุปโภคส่วนบุคคลสัดส่วนร้อยละ 28.0 ของหนี้ครัวเรือนรวม 3.) เงินกู้เพื่อการประกอบธุรกิจ สัดส่วนร้อยละ 18.2 ของหนี้ครัวเรือนรวม และ 4.) เงินกู้เพื่อซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์/ รถจักรยานยนต์ สัดส่วนร้อยละ 12.3 ของหนี้ครัวเรือนรวม

นายธนกร กล่าวว่า รัฐบาลแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนผ่านมาตรการต่าง ๆ ได้แก่

1.) การแก้ปัญหาหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยปฏิรูปรูปแบบการชำระหนี้ อาทิ การปรับปรุงรูปแบบการจ่ายชำระหนี้คืน จากรายปีเป็นรายเดือน ชำระคืนค่างวดแบบเฉลี่ยเท่ากันทุกเดือน ขยายระยะเวลาการผ่อนชำระจาก 15 ปี เป็น 25 ปี  ปรับปรุงลำดับการตัดชำระหนี้ โดยนำไปตัดเงินต้นก่อน แล้วจึงตัดดอกเบี้ย ปรับลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ เหลือร้อยละ 2 ต่อปี เป็นต้น

2.) การแก้ปัญหาหนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เช่น การประกาศกรอบอัตราค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้ ที่ช่วยคุ้มครองลูกหนี้ไม่ให้ถูกเรียกเก็บเงินในการทวงถามหนี้เกินความจำเป็น

3.) การแก้ปัญหาหนี้สินข้าราชการโดยเฉพาะข้าราชการครู ยุบยอดหนี้โดยใช้ทรัพย์สินและรายได้ของครูในอนาคต เพื่อให้ยอดหนี้ลดลงและสามารถชำระคืนได้จากเงินเดือน การปรับดอกเบี้ยเงินกู้ให้ลดลงเหลือไม่เกินร้อยละ 5

4.) หนี้สินข้าราชการตำรวจ การขอความร่วมมือสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจเช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์ ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 พักชำระหนี้เงินต้น ปรับลดอัตราการถือหุ้นรายเดือน จัดทำโครงการปล่อยเงินกู้ระยะสั้นดอกเบี้ยต่ำ และการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

5.) การปรับลดและทบทวนโครงสร้างและเพดานอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม และการออกมาตรการคุ้มครองสิทธิ์ของลูกหนี้ กระทรวงการคลังปรับลดเพดานเงินกู้สินเชื่อ PICO Finance เหลือร้อยละ 33 จากร้อยละ 36 ธปท. สนับสนุนการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้

และ 6.) การปรับปรุงขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรม มีการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางธุรกิจและการเงิน เน้นไกล่เกลี่ยข้อพิพาทผ่านระบบออนไลน์ โดยประชาชนสามารถยื่นคำร้องด้วยตนเองหรือผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์

ก้าวต่อไม่หยุดยั้ง NRPT เดินหน้าสร้างโรงงานผลิต Plant based กำลังผลิต 3,000 ตันต่อปี ใหญ่สุดในเอเชียแปซิฟิก

NRPT เดินหน้าสร้างโรงงานผลิตอาหารโปรตีนจากพืชครบวงจร Plant & Bean (Thailand) ใหญ่สุดในเอเชียแปซิฟิก

Nuovo Plus - Gotion ร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตชุดแบตเตอรี่ ดันไทยสู่ผู้นำด้านแบตเตอรี่ของอาเซียน

เมื่อวานนี้ (15 ธันวาคม 2565) บริษัท นูออโว พลัส จำกัด (Nuovo Plus) บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท อรุณ พลัส จำกัด (Arun Plus) และบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) บรรลุข้อตกลงร่วมกับ Gotion Singapore Pte. Ltd. (Gotion) บริษัทในกลุ่มของ Gotion High-tech Co., Ltd. จัดตั้งบริษัทร่วมทุนภายใต้ชื่อบริษัท เอ็นวี โกชั่น จำกัด (NV Gotion) ด้วยทุนจดทะเบียนไม่เกิน 600 ล้านบาท ในสัดส่วนการลงทุน 51% และ 49% ตามลำดับ เพื่อดำเนินธุรกิจนำเข้า ประกอบ และจัดจำหน่ายโมดูลแบตเตอรี่และชุดแบตเตอรี่สำหรับระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) และยานยนต์ไฟฟ้า (EV) พร้อมส่งมอบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคุณภาพสูงสู่ตลาดภายในปี 2566 ด้วยกำลังการผลิตเริ่มต้น 1 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี และขยายกำลังการผลิตเป็น 2 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ภายในปี 2568

ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท นูออโว พลัส จำกัด เปิดเผยว่า การผลิตแบตเตอรี่เพื่อระบบกักเก็บพลังงานและยานยนต์ไฟฟ้าถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและยานยนต์ไฟฟ้า การร่วมทุนจัดตั้ง NV Gotion ครั้งนี้ เป็นไปตามทิศทางกลยุทธ์การลงทุนธุรกิจพลังงานแห่งอนาคตของกลุ่ม ปตท. เพื่อเร่งสร้าง Energy Storage and EV Value Chain ให้ครอบคลุมในทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ การผสานความเชี่ยวชาญจาก Nuovo Plus และ Gotion ทั้งในด้านของการวิจัยพัฒนา ศักยภาพการผลิตแบบแข่งขันได้ การบริการด้านเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยีโดยตรง และการให้บริการแบบครบวงจรในประเทศไทย จะทำให้สามารถส่งมอบประสบการณ์การใช้งานแบตเตอรี่ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลสู่ลูกค้าอุตสาหกรรมในไทยและอาเซียน โดย NV Gotion จะเริ่มก่อสร้างโรงงานประกอบชุดแบตเตอรี่ขนาด 2 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) คาดว่าจะสามารถผลิตและส่งมอบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคุณภาพสูงแก่ตลาดได้ภายในไตรมาส 4 ของปี 2566 นับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี และผลักดันเป้าหมาย Net Zero ของประเทศจากทุกภาคส่วนร่วมกัน

เชียงใหม่ จับมือ EFL Learning Centre ลงนาม MOU จัดตั้ง 'ศูนย์ฝึกอบรมเพื่อการทำงานต่างประเทศ (WATC)' ร่วมกับ 3 แห่งแรกใน อีสาน-เหนือ โอกาสเพิ่มรายได้คนไทยปีละกว่า 1 ล้านบาท

วันที่ 15 ธันวาคม 2565 เวลา 11.00 น. EFL Learning Centre สถาบันภาษาแรกในเอเชียที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 และ หลักสูตรได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ และ Training Qualifications UK สหราชอาณาจักร โดย Mr. John Quinn ผู้สอบ IELTS Examiner (License No.97130) ของ University of Cambridge ESOL ซึ่งเป็นการทดสอบภาษาอังกฤษระดับนานาชาติ (International English Language Testing System: IELTS) และ ดร.วิไลวรรณ วรรณโชติผาเวช ผู้บริหาร EFL Learning Centre ลงนาม บันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) จัดตั้ง 'ศูนย์ฝึกอบรมเพื่อการทำงานต่างประเทศ EFL–Working Abroad Training Centre (WATC)' ร่วมกับ 3 องค์กร ดังต่อไปนี้

1. วิทยาลัยเทคโนโลยีพังโคนพณิชยการ (PC-TECH) จังหวัดสกลนคร โดย นาย บุญเสริม เสริมสกุล ประธานบริหารวิทยาลัย เป็นตัวแทนในการลงนาม MOU เพื่อจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมเพื่อการทำงานต่างประเทศ (EFL-WATC) ในพื้นที่ของวิทยาลัย PC-TECH ซึ่งก่อตั้งมากว่า 46 ปี และ มีจำนวนนักศึกษากว่า 1,700 คน และเป็นวิทยาลัยอาชีวเอกชนแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จัดตั้งศูนย์ EFL-WATC นี้เพื่อมุ่งยกระดับภาษาอังกฤษระดับนานาชาติ สำหรับนักศึกษาที่ต้องการทำงานในระดับนานาชาติได้ รองรับการปรับตัวทางเศรษฐกิจของโลกในอนาคต พร้อมส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสการสร้างรายได้ มีอาชีพที่ก้าวหน้ามั่นคงแนวใหม่ และสอดคล้องกับระเบียบเศรษฐกิจใหม่ของโลกที่กำลังขับเคลื่อนเข้าสู่ยุค Silver Economy (สังคมสูงวัย)

2. พิมาน ล้านนา ซึ่งเป็น Chiang Mai Old Town Wellness Residence - ที่พักสำหรับคนรักความเป็นส่วนตัว และรักสุขภาพใจกลางเมืองเก่าเชียงใหม่ ที่ให้การบริการด้านห้องพักควบคู่ไปกับการบริการด้านสุขภาพ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้สูงอายุและครอบครัวที่ต้องการที่พักอาศัยที่ให้บรรยากาศการดูแลดุจญาติมิตร อันเป็นที่นิยมจากชาวต่างชาติหลากหลายประเทศ โดยการบริหารงานของนางประณยา สีห์พิริโยดม ตำแหน่งผู้จัดการ พิมานล้านนา เป็นตัวแทนเข้าลงนามจัดตั้งศูนย์ EFL-WATC

3. อิศวอินเตอร์ไลฟ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนบริบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นสถาบันการศึกษาที่มีนักเรียนทั้งชาวไทย และต่างประเทศรอบอาเซียนให้ความเชื่อมั่นเข้ารับการอบรมในจังหวัดเชียงใหม่ และมีหลักสูตรอบรมที่ทันสมัยเตรียมพร้อมผู้เรียนเข้าสู่การสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ และเป็นที่ต้องการของสังคม อาทิ หลักสูตรผู้ช่วยห้องไตเทียม ผู้ช่วยผู้ปฏิบัติการห้องยา เป็นต้น นายเอกกพล สุวรรณ ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนอิศวอินเตอร์ไลฟ์ ได้ลงนามความร่วมมือจัดตั้งศูนย์ EFL-WATC เพื่อยกระดับภาษาอังกฤษระดับนานาชาติ (IELTS) เพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความพร้อมที่จะทำงานในระดับนานาชาติต่อไป


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. Esan Time Thailand
Take Me Top