Tuesday, 7 May 2024
ชัยภูมิ

ชัยภูมิ คว้า 3 รางวัล!! จากโครงการแสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาตครั้งที่ 8 เฉลิมพระเกียรติ

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2565 เวลา 13.00 น. นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ได้รับเกียรติเป็นประธานเข้ารับมอบโล่รางวัล พร้อมด้วย นางณัฏฐ์ชุดา นันทนิ การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชัยภูมิ, นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ บำรุงถิ่น ผอ.โรงพยาบาลชัยภูมิ, นายเกษมสุข กันชัย รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ เข้ารับมอบโล่รางวัล "โครงการแสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 8 เฉลิมพระเกียรติ"

ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง โดยจัดให้มีกิจกรรมการแข่งขันออกกำลังกายสะสมแคลอรี่ ผ่านแอปพลิเคชัน Calories Credit Challenge : CCC และกิจกรรม นิทรรศการฯ ในโครงการแสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 8 เฉลิมพระเกียรติ “แผ่นดินไทย ไร้สโตรค”

ตม.ชัยภูมิ สนองนโยบายป้องกัน ปราบปรามต่างด้าวหลบซ้อน รวบอินเดียแอบลักลอบอยู่ในราชอาณาจักร เกินกว่า 974 วัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ตามนโยบายของ พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ผบช.สตม. พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.สตม.กำกับดูแลงานสืบสวน มีคำสั่งให้ทุกหน่วยในสังกัด สตม.ดำเนินการออกระดมกวาดล้างอาญากรรมประเภทต่าง ๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะการอยู่ในราชอาณาจักรเกินกำหนดอนุญาต (OVER STAY) รวมถึงสืบสวนหาข่าวคนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมือง การกระทำความผิดที่มีโทษทางอาญา, ผู้ที่มีหมายจับศาลไทยหรือหมายจับศาลต่างประเทศ

ชัยภูมิ แห่ใช้บริการโรงตึ๊งแน่น!! หลังฉลองวันปีใหม่ 66

(3 ม.ค.66) เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้งกว่าทุกปีที่ผ่านมา หลังช่วงวันเทศกาลต้อนรับปีใหม่ในปี 2566 นี้ บรรยากาศที่สถานธนานุบาลเทศบาลเมืองชัยภูมิ แหล่งที่พึ่งของประชาชนที่ขาดสภาพคล่อง หลังลูกหลานเดินทางมากลับเยี่ยมบ้าน ในช่วงวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ช่วงวันที่ 31 ธ.ค.65 – 2 ม.ค.66 ที่ผ่านมา ก็เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้งในปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่สถานธนานุบาล หรือ โรงตึ๊ง จัดโปรโมชั่นช่วยเหลือประชาชนปลอดดอกเบี้ย 3 เดือน ต่างมีประชาชนในพื้นที่นำสิ่งของมาจำนำเป็นจำนวนมาก

ขณะที่ จ.ชัยภูมิ ที่สถานธนานุบาลของเทศบาลเมืองชัยภูมิ ได้เปิดทำการเป็นวันแรกของปีใหม่ พ.ศ.2566 นี้ ต่างก็เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง ตั้งแต่ช่วงเปิดทำการ มีประชาชนขาดสภาพคล่อง และจำเป็นต้องใช้เงิน โดยการนำสิ่งของมีค่าที่มีพอจะหาได้ภายในบ้าน มาใช้บริการที่สถานธนานุบาล หรือ โรงรับจำนำ หรือ โรงตึ๊ง ที่ประชาชนทั่วไปทราบกัน เพื่อต้องการเงินไปใช้จ่ายหมุนเวียนในครอบครัวตั้งแต่ต้นเดือนต้นปี 2566 ในปีนี้

ทำให้บรรยากาศที่โรงตึ๊ง ที่ จ.ชัยภูมิ ในปีนี้มีประชาชนเดินทางมาใช้บริการกันเป็นจำนวนมากกว่าทุกปีในช่วงเดียวกัน ซึ่งสิ่งของที่นำมาจำนำในปีนี้ส่วนใหญ่จะเป็นทองคำรูปพรรณ สร้อยคอ และแหวน สูงมากกว่า 90 % รองลงไปจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องมือช่าง อุปกรณ์ในการทำมาหากิน อุปกรณ์ในการประกอบอาชีพเครื่องสูบน้ำ

สุดหาดูยาก!! ชัยภูมิจัดงาน สืบสานเลี้ยงโฮงปะกำ หมู่บ้านช้างคืนถิ่น หนึ่งเดียวในโลก เตรียมเปิดงานประจำเจ้าพ่อพญาแล หนึ่งปีมีให้ชมครั้งเดียว

วันที่ 9 ม.ค. 2566 ตั้งช่วงเช้าเวลา 06.30–10.00 น. ที่ผ่านมา ที่ลานชุมชนในหมู่บ้านค่ายหมื่นแผ้ว ตั้งอยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำชี ตำบลบ้านค่าย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งในทุกปีช่วงเดียวกัน ก่อนจะถึงวันเปิดงานเจ้าพ่อพญาแลประจำปี ที่จะมีการจัดสืบสานประเพณีโบราณถวายช้างคืนถิ่นต่อเจ้าเมืองคนแรก หรือเจ้าพ่อพญาแล (พระยาภักดีชุมพล) เจ้าเมืองคนแรกที่ก่อตั้งเมืองชัยภูมิ ที่มีให้ชมเพียงแห่งเดียวในโลกมาแต่โบราณจนปัจจุบัน ระหว่างวันที่ 12-20 มกราคม ของทุกปี และในปี 2566 นี้ ที่รอบอนุสาวรีย์เจ้าพญาแล กลางใจเมืองชัยภูมิ และบริเวณรอบหน้าศาลากลางจังหวัด ชาวชัยภูมิทั่วทั้งจังหวัดและชาวตำบลบ้านค่าย ซึ่งมีตำนานการเลี้ยงช้าง ตั้งเป็นค่ายทัพช้าง เพื่อฝึกช้างสู้ไปช่วยกองทัพไทยสู่รบและคล้องช้างเผือกถวายพระมหากษัตริย์ไทย มาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 2

ซึ่งชาวตำบลบ้านค่ายจะได้พร้อมใจกันจัดงานช้างคืนถิ่น เพื่อเป็นการยกย่อง และเชิดชูช้าง ซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้าน คู่เมืองชัยภูมิและประเทศไทยมาช้านาน และก่อนช่วงใกล้ถึงวันเปิดงานเจ้าพ่อพญาแลอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 ม.ค. 2566 เพื่อสืบสานประเพณีถวายช้างหนึ่งเดียวในโลกในปีนี้

ทาง นายพรเทพ วัชกีกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ได้รับมอบหมายตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เดินทางไปเป็นประธานในพิธีนำจุดธูปเทียน สักการะดวงวิญญาณพ่อหมื่นแผ้ว บวงสรวงดวงวิญญาณพ่อหมื่นแผ้ว แห่พานบายศรีรอบอนุสาวรีย์พ่อหมื่นแผ้ว 3 รอบ คล้องพวงมาลัยอนุสาวรีย์พ่อหมื่นแผ้ว รำบวงสรวง แจกเครื่องบวงสรวงเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้มาร่วมในพิธี กันอย่างคึกคักไม่แพ้กว่าทุกปีที่ผ่านมาเช่นกัน และต่อด้วยพิธีเลี้ยงโฮงปะกำช้าง โดยมีครูบาช้าง บอกกล่าวเครื่องเซ่นไหว้โฮงปะกำ ทำพิธีถอดคางไก่เพื่อทำนาย โดยการเป่าสะแนงแกล (สะไน) ซึ่งทำมาจากเขาควายใช้เป่าในพิธีบวงสรวง ตามประเพณีโบราณที่ได้ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา

โดยการจับช้าง เลี้ยงช้างของชุมชนคนบ้านค่ายหมื่นแผ้ว ตามหลักฐานทางประวัติเชื่อว่า ชุมชนแห่งนี้เคยเป็นกองช้างหลวง หรือสถานที่เลี้ยงช้าง ฝึกช้างเพื่อใช้ในราชการศึกสงคราม ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินตอนต้น มีหมื่นแผ้วเป็นหัวหน้า เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงแต่งตั้งให้นายแล ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก มียศเป็นพระยาภักดีชุมแล (แล) เมื่อปี พ.ศ.2369 หมื่นแผ้วยังคงทำหน้าที่จับช้างมาเลี้ยง และฝึกช้างส่งให้กับเจ้าเมืองไว้ใช้งาน

ต่อมาภายหลังบ้านเมืองสงบสุข ไม่ได้นำช้างมาใช้ในศึกสงคราม กองช้างหลวงจึงถูกยกเลิกไป แต่ภูมิปัญญาในการเลี้ยงช้าง ที่สั่งสมจากรุ่นสู่รุ่น ยังคงหลงเหลือและสืบต่อมาถึงคนรุ่นปัจจุบัน ลูกหลานคนบ้านค่าย จึงมีความผูกพันกับช้างมาโดยตลอด จึงเปลี่ยนมาฝึกช้างเพื่อการแสดงโชว์ความสามารถหรือช้างแสนรู้ ออกไปตามสถานที่ต่าง ๆ ในทั่วประเทศ และต่างประเทศ สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดชัยภูมิ มาจนปัจจุบัน

นานาชาติลงพื้นที่หนุนป่าภูเขียว ทุ่งกระมัง จ.ชัยภูมิ เตรียมขึ้นทะเบียนมรดกโลกแห่งอาเซียน!

เมื่อระหว่างวันที่ 23-25 ม.ค. 2566 ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีคณะตัวแทนผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติจากศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วย Ms. รัศมี ศิระวงศ์, Mr. โรเบิร์ต มาสเตอร์, นายทวี หนูทอง และสมาชิกประเทศกลุ่มอาเซียน และ นายสิทธิชัย เสรีส่งแสง รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (รักษาการอธิบดีฯ) นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เดินทางร่วมกันลงพื้นที่เชิงลึกติดต่อกันในช่วง 3 วันในระหว่าง 23-25 ม.ค.2566 เพื่อนำเสนอพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว (ทุ่งกะมัง) อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ให้เป็นพื้นที่อุทยานมรดกโลกแห่งอาเซียน

โดยมี นายอร่าม ทัพหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว (ทุ่งกะมัง) ได้นำเสนอข้อมูลแนวทางการยื่นขึ้นทะเบียนให้พื้นที่ป่าภูเขียวและทุ่งกะมัง ให้เป็นพื้นที่อุทยานมรดกแห่งอาเซียนในครั้งนี้

สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 มี.ค.65 เห็นชอบให้ประเทศไทยโดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำเสนอพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน

ซึ่งครั้งนี้ทางคณะกรรมการตัดสินจากศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ จึงได้นำคณะนานาชาติลงพื้นที่ตรวจสอบประเมิน เพื่อดำเนินการประกาศให้มีการขึ้นทะเบียนให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว (มีพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์รวม 975,000ไร่) ได้เป็นพื้นที่อุทยานมรดกแห่งอาเซียนต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในปี 2566 นี้ ก็จะมีการประกาศการขึ้นทะเบียนตามมาอย่างเป็นทางการต่อไปได้

ซึ่งศักยภาพของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว (ทุ่งกะมัง) ที่มีความเหมาะสมจะมีการประกาศให้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่อุทยานมรดกแห่งอาเซียนครั้งนี้ ด้าน Mr. โรเบิร์ต มาสเตอร์ ตัวแทนคณะผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ กล่าวว่า ประเด็นสำคัญที่ทุกครั้งที่จะมีการดำเนินการประกาศขึ้นทะเบียนให้พื้นที่ต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน มักจะมีคนตั้งคำถามว่าเมื่อเป็นมรดกแห่งอาเซียนแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร และถ้าพื้นที่ของประเทศไทยถ้าเป็นมรดกแห่งอาเซียนแล้วจะไม่ใช่ของไทยอะไรประมาณนี้นั้น ซึ่งยืนยันว่าพื้นที่ของประเทศไทยก็ยังเป็นของคนไทยอยู่เหมือนเดิม


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. Esan Time Thailand
Take Me Top