Saturday, 4 May 2024
น้ำท่วม

ซับน้ำตาประชาชน!! ผู้ว่าฯ ร้อยเอ็ด ลงพื้นที่ช่วยผู้ประสบน้ำท่วม 

เมื่อวานนี้ (11 ตุลาคม 2565) เวลา 14.00 น. นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ลงพื้นที่อำเภอโพนทราย เพื่อตรวจเยี่ยมให้กำลังใจพี่น้องประชาชนที่เข้ามาพักอาศัยในศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยหอประชุมที่ว่าการอำเภอโพนทราย จากสถานการณ์แม่น้ำมูลหนุนสูงเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนอยู่อาศัยของประชาชน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอโพนทราย ทั้ง 5 ตำบล 37 หมู่บ้าน จนทำให้บางหมู่บ้านถูกน้ำท่วมรอบหมู่บ้านจนไม่สามารถเดินทางได้ และต้องใช้เรือในการสัญจรเข้า-ออกหมู่บ้าน ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด จึงได้สั่งการให้เร่งอพยพผู้สูงอายุ เด็ก สตรี มายังศูนย์อพยพผู้ประสบอุทกภัย ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอโพนทราย และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมบูรณาการเร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างรวดเร็วที่สุดและให้เฝ้าติดตามสถานการณ์ระดับน้ำในพื้นที่อย่างใกล้ชิด 

แม่น้ำชีล้นตลิ่งร้อยเอ็ด ขยายวงถึง อ.เชียงขวัญ

น้ำท่วมร้อยเอ็ดกระทบ 15 อำเภอ ล่าสุด แม่น้ำชีที่บ้านวังยาว-วังเจริญ ต.พลับพลา อ.เชียงขวัญ ล้นตลิ่งท่วมหมู่บ้าน 150 ครัวเรือน นาข้าวเสียหาย ชาวบ้านอาศัยถุงยังชีพประทังชีวิต น้ำก็ต้องซื้อดื่ม

จากกรณีเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ลดการระบายน้ำ เหลือเป็น 52 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ประกอบกับแหล่งกักเก็บน้ำในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เกินปริมาณกักเก็บในหลายแห่ง ส่งผลให้มวลน้ำชีล้นตลิ่งจนเกิดอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ล่าสุดได้ประกาศให้เป็นพื้นที่อุทกภัย รวม 15 อําเภอ 93 ตําบล 743 หมู่บ้าน 14,615 ครัวเรือน ถนน 7 สาย วัด 30 แห่ง โรงเรียน 13 แห่ง รพ.สต. 4 แห่ง ศูนย์เด็กเล็ก 1 แห่ง เกษตรกรได้รับผลกระทบ 27,691 ราย พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 306,657 ไร่ ทั้งนี้ แม้พนังกั้นลำน้ำชีของบ้านสะดำศรี ตำบลลำชี อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ จะขาดลงแต่ก็เป็นเพียงการตัดยอดน้ำ แต่มวลน้ำที่ไหลเข้าพื้นที่อำเภอจังหาร ล่าสุดได้ไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและชุมชนลุ่มต่ำติดแม่น้ำชีในอำเภอโพธิ์ชัยและอำเภอเชียงขวัญ

ล่าสุด สถานีบ้านม่วงลาด อ.จังหาร ระดับแม่น้ําชีสูงกว่าตลิ่ง 1.87 ม. (-50 ซม.) สถานีบ้านวังยาว-หนองแก่ง อ.เชียงขวัญ สูงกว่าตลิ่ง 2.01 ม. (+0.4 ซม.) และสถานีบ้านท่าสะแบง อ.ทุ่งเขาหลวง สูงกว่าตลิ่ง 1.12 ม. (+0.6 ซม.) โดยมวลน้ำก้อนใหญ่ได้ไหลเข้าสู่พื้นที่อำเภอเชียงขวัญ ส่งผลให้น้ำท่วมในพื้นที่ 3 ตําบล 9 หมู่บ้าน 185 ครัวเรือน ได้แก่พื้นที่ ต.เชียงขวัญ ต.พระธาตุ ต.พลับพลา โดยมีประชาชนเข้าไปอยู่ศูนย์พักพิงแล้ว 9 จุด ริมถนนแนวกั้นคันพนังแม่น้ำชี

เมื่อช่วงเช้าวันที่ 18 ต.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปยัง บ้านวังยาว-วังเจริญ ตำบลพลับพลา อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อตรวจสอบสถานการณ์น้ำล่าสุดพบว่า มวลน้ำชีที่ล้นตลิ่งได้ท่วมหมู่บ้าน จำนวน 150 ครัวเรือน

สอบถามชาวบ้าน กล่าวว่า มวลน้ำชีได้เริ่มทะลักเข้าท่วมหมู่บ้าน ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนตุลาคม ซึ่งน้ำเริ่มท่วมจากถนนเส้นท้ายของหมู่บ้านและเริ่มขยายวงกว้าง จนเหลือเพียงถนนคอสะพาน ที่สร้างเพิงพักอาศัย ซึ่งชาวบ้านเองก็ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เนื่องจากนาข้าวที่ได้ทำเสร็จไปก็ถูกน้ำท่วมติดต่อกัน ไม่มีข้าวไว้กินในครัวเรือน ก็ต้องออกหาปลาก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง ต้องอาศัยถุงยังชีพเพื่อหุงหาอาหารประทังชีวิต ซึ่งระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อาจจะต้องข้ามสะพานไปสร้างเพิงพักใหม่ ส่วนเรื่องอุปโภคบริโภคชาวบ้านก็ไม่สามารถใช้สุขาได้ตามปกติ น้ำดื่มก็ต้องซื้อกินแบบถังต้องอาศัยเรือของกู้ภัยเพราะน้ำท่วมสูง ก็อยากให้จัดสุขาเคลื่อนที่และน้ำดื่มให้ชาวบ้านด้วย


ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2529611

นายอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ชวนร่วมบริจาคสิ่งของ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดศรีสะเกษ

เมื่อวันที่ (18 ตุลาคม 2565) ณ ที่ว่าการอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ นายสุวรรณ เนตรเนติกุล นายอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ได้เป็นประธานรับมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีนางขวัญตา คิดดี ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง และจ่าเอกโอภาส ทองขาว ปลัดอำเภออำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ นำส่วนราชการกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนชาวอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ร่วมบริจาคเป็นจำนวนมาก ประกอบด้วยคุณครูบุศรา บุรมย์ ครูโรงเรียนบ้านตลาดหนองเรือ มอบเงินจำนวน 300 บาทและน้ำดื่ม หน่วยบริการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดศรีสะเกษ หน่วยบริการโพธิ์ศรีสุวรรณ มอบน้ำดื่ม สถานีตำรวจภูธรโพธิ์ศรีสุวรรณ มอบบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและนม สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ มอบบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและขนม ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ มอบบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและน้ำดื่ม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแพทย์ประจำตำบลและสารวัตรกำนัน ตำบลโดด หมู่ที่ 1 - 25 มอบข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง น้ำดื่ม ไข่ไก่ เสื้อผ้า และหมู่ที่ 14 มอบเงินจำนวน 240 บาทผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8,12, 14 ตำบลเสียว มอบเงินจำนวน 10,520 บาท ข้าวสาร พริกแห้ง ปลากระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำดื่ม และคุณแพรวพรรณ แซ่เฮง บ้านป่าฝาง ตำบลโดด มอบเงินจำนวน 500 บาท

หลายพื้นที่ของอุบลน้ำยังท่วมสูงรถเล็กผ่านไม่ได้เส้นทางจากต.ปทุม-ต.ในเมืองต้องจัดรถรับส่ง

นายวีระ พรวาณิชย์พงศ์ หัวหน้าฝ่ายปกครองเทศบาลตำบลปทุม เปิดเผยขณะมาดูแลความเรียบร้อยและอำนวยความสะดวกประชาชนที่มาใช้บรอการรถรับส่งของภาครัฐและเอกชนจาก ตำบลปทุม ไปต.ในเมือง อ.เมือง จังหวัดอุบลราชธานี ว่า สถานการณ์น้ำดีขึ้นและลดระดับลงอย่างต่อเนื่องแต่ในบางพื้นที่ของทั้ง2ตำบลยังคงมีน้ำท่วมสูงประมาณ 30-40 ซ.รถจักรยานยนต์ยังไม่สามารถขับผ่านได้ ซึ่งกรมชลประทานได้จัดรถบรรทุกมารับส่งประชาชนฟรีจำนวน 4 คัน และยังมีรถของเอกชนที่มาให้บริการ โดยคิดค่าบริการสำหรับประชาชนที่มีรถจักรยานเที่ยวละ 20 บาท โดยคาดว่าหากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มอีกประมาณ3-4 วัน ระดับน้ำน่าจะลดลงและรถจักรยานก็สามารถขับผ่านได้

ทั้งนี้ หัวหน้าฝ่ายปกครองเทศบาลตำบลปทุม ยังกล่าวถึงการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ว่า ปัจจุปันยังมีประชาชนที่ติดอยู่ข้างในพื้นที่น้ำท่วมและไม่ยอมออกมาอยู่ข้างอีกประมาณ 30 หลังคาเรือน ซึ่งทางเทศบาลได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งโรงครัวประกอบอาหารและนำน้ำดื่มสิ่งของจำเป็นเข้าไปส่งให้ประชาชนที่อยู่ข้างใน ส่วนประชาชนที่ออกมาด้านนอก ทางเทศบาลได้ตั้งศูนย์พักพิงไว้จำนวน 4 จุด มีประชาชนพักอาศัยจำนวน 16 ครัวเรือน

ด้าน นายสมบัติ กลิ่นกุหลาบ เจ้าหน้าที่เทศบาลตำรวจปทุม กล่าวว่าตนเองทำงานที่เทศบาลมานานกว่า 1 ปีแล้ว หลังเกิดน้ำท่วมก็ได้เข้ามาเป็นจิตอาสาช่วยเหลือประชาชนในการเดินทางสัญจรผ่านด้วยการยกรถขึ้นลง ซึ่งมีทั้งรถของกรมชลประทานและภาคเอกชนที่มาช่วยรับส่งเท่าที่ช่วยเหลือมาพบว่าเรื่องรถรับส่งมีเพียงพอ

มทบ.25 ร่วมส่งต่อความช่วยเหลือ มอบสิ่งของแทนความห่วงใย แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมสุรินทร์ 

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 เวลา 14.30 น. มณฑลทหารบกที่ 25 พร้อม สมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา มณฑลทหารบกที่ 25 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจและมอบถุงยังชีพกองทัพบก ให้กับผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ นำโดย พันเอกชินวิช เจริญพิบูลย์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 25 ลงพื้นที่ส่งมอบถุงยังชีพกองทัพบก และสิ่งของที่ได้รับการบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในเขตพื้นที่ อำเภอชุมพลบุรี และ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ 

กาฬสินธุ์เร่งกั้นกระสอบทรายกู้ถนนน้ำท่วมสายกาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด

แขวงทางหลวงกาฬสินธุ์ยังคงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งนำกระสอบทรายเข้าปิดกั้นมวลน้ำจากพนังชีขาด เพื่อเตรียมสูบน้ำท่วมขังออกจากถนนสายกาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด คาดเปิดให้ใช้งานได้เร็ว ๆ นี้ ขณะที่พนังกั้นน้ำชีที่ขาดกว่า 50 เมตรในตำบล ฆ้องชัยเปิดให้รถผ่านได้แล้ว ส่วนจุดพนังขาดใหม่ในตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย เจ้าหน้าที่เร่งนำชุดทอดสะพานข้ามเตรียมติดตั้งให้การช่วยเหลือ

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางดวงตา พายุพล ผอ.แขวงทางหลวงกาฬสินธุ์ ยังคงนำเจ้าหน้าที่แขวงทางหลวงกาฬสินธุ์ หมวดทางหลวงร่องคำ หมวดทางหลวงสมเด็จ และหมวดทางหลวงยางตลาด ร่วมกับเจ้าหน้าที่กองร้อยอส. กำลังทหาร และผู้ต้องขังชั้นดี เรือนจำ จ.กาฬสินธุ์กรอกกระสอบทรายนำขึ้นรถบรรทุกขนาดใหญ่เข้าไปเรียงปิดกั้นมวลน้ำตามแนวถนนที่ไหลมาจากการขาดของพนังชีในพื้นที่ ต.ลำชี อ.ฆ้องชัย ซึ่งปัจจุบันน้ำยังเอ่อท่วมถนนสายกาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด ช่วงตั้งแต่บ้านหัวแฮด ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย ไปถึงบ้านเหล่ากลาง ระยะทางกว่า 3 กม.มานานกว่า 1 สัปดาห์ 

ปัจจุบันระดับน้ำยังสูงอยู่ที่ 60-70 ซม.บางจัดสูงกว่า 80 ซม.ซึ่งหลังจากเจ้าหน้าที่ซ่อมพนังที่ขาดเสร็จ จึงได้เร่งกั้นกระสอบทราย เพื่อที่เข้าทำการสูบน้ำออกจากพื้นถนนให้กลับคืนสู่สภาพปกติ และคาดว่าจะเปิดใช้งานได้ในเร็ว ๆ นี้

ขณะที่พนังกั้นแม่น้ำชีที่ขาดกว่ายาว 50 เมตร บริเวณกม.ที่ 6 บ้านสะดำสี ต.ลำชี อ.ฆ้องชัย สาเหตุหลักของน้ำท่วม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการซ่อมแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ปัจจุบันเหลือเพียงการนำผ้ายางพลาสติกอุดและคลุมหินไว้ เพื่อหยุดการไหลของน้ำตามซอกหินเท่านั้น และล่าสุดเปิดใช้งานให้ประชาชนสามารถสัญจรผ่านมาไปมาได้ปกติแล้ว โดยทางนายศุภศิษย์ กอเจริญยศ รองผวจ.กาฬสินธุ์ และนายสำรวย อินพิทักษ์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว พร้อมด้วยหน่วยงานต่างๆ ที่ได้ทำการซ่อมมาตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ที่ขาด ยังยืนยันถึงความมั่งคงแข็งของตัวพนังที่ซ่อมเสร็จอีกด้วย

อย่างไรก็ตามในส่วนมวลน้ำที่เอ่อล้นเข้ามาและกัดเซาะพนังกั้นน้ำชีขาดอีกหนึ่งจุด บริเวณ กม.ที่ 55 บ้านโนนเมือง หมู่ที่ 12 ต.ดงลิง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ โดยมีความกว้างประมาณ 15 เมตร ทำให้ประชาชนไม่สามารถสัญจรผ่านไป-มาได้นั้น 

22 พฤศจิกายน พ.ศ.2531 ท่อนซุงและโคลนถล่ม ‘กะทูน’ อ.พิปูน โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่จากภัยธรรมชาติ

ย้อนไปเมื่อ 34 ปีก่อน เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่จากภัยธรรมชาติ หลังฝนตกหนักพัดพาดินโคลนและท่อนซุง ถล่มหมู่บ้านในตำบลกะทูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช คร่าชีวิตหลายร้อยคน

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ที่ตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดเหตการณ์ดินโคลนและท่อนซุงที่ไหลมากับน้ำถล่มบ้านเรือนเสียหายไปกว่า 1,500 หลัง พื้นที่การเกษตรอีก 6,150 ไร่ มีผู้เสียชีวิตถึง 700 คน ผู้คนที่รอดชีวิตต้องย้ายออกจากที่อยู่อาศัยเดิม และไม่สามารถกลับเข้าไปอยู่ได้อีก

ก่อนเกิดเหตุการณ์ครั้งนั้นราว 3-4 วัน ได้เกิดพายุดีเพรสชั่น มีฝนตกปรอยๆ ต่อเนื่องมาหลายวัน ทำให้ดินบนภูเขาซับน้ำไว้จนชุ่มโชก และเมื่อฝนยังเพิ่มปริมาณน้ำอีกไม่หยุด ดินที่รับน้ำหนักไว้มากจนเกินกำลัง ก็ลื่นไถลลงมาตามทางลาด ทำให้ดินที่อยู่ด้านล่างต้องถล่มลงมาด้วย พร้อมต้นไม้ป่าและต้นยางพาราที่ชาวบ้านขึ้นไปปลูกไว้บนเขาถูกถอนรากถอนโคน กลายเป็นอาวุธของกระแสน้ำกวาดบ้านเรือนและชีวิตผู้คนไปกับกระแสน้ำ อีกทั้งยังมีโคลนดินตามมาถล่มทับ

นอกจากนี้ ตำบลกะทูนซึ่งภูมิประเทศเป็นแอ่งรับน้ำมีพื้นที่ 70 ตารางกิโลเมตรนี้ มีลำธารหลายสายรับน้ำจากเชิงเขาโดยรอบมารวมลงในคลองกระทูน แต่มีทางน้ำไหลออกกว้างเพียง 70 เมตรเท่านั้น เมื่อถูกต้นไม้บนเขาและไม้ในสวนที่ชาวบ้านปลูกไหลมาปิดทางน้ำออก ระดับน้ำในแอ่งกะทูนจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ฝังกลบทุกสิ่งทุกอย่างและทุกชีวิตไว้ใต้น้ำ


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. Esan Time Thailand
Take Me Top