Monday, 29 April 2024
นครราชสีมา

30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 วันสถาปนา ‘ท้าวสุรนารี’ เชิดชูหญิงกล้าเมืองนครราชสีมา

วันนี้เมื่อ 195 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ‘คุณหญิงโม’ เป็นท้าวสุรนารี วีรกรรมหญิงไทยที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึก!!

ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า 'โม' หรือท้าวมะโหโรง เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกา พ.ศ. 2314 มีนิวาสสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แป้นาผล ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ จุก

บก.ปคบ. จับและตรวจยึดวัตถุอันตรายทางการเกษตรโดยผิดกฎหมาย

วันที่ 14 ธ.ค.2565 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.ธรากร เลิศพรเจริญ รอง ผบกปอท.รรท.ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง รอง ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.สมเกียรติ ตันติกนกพร รอง ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.ณัฐวัฒน์ เกศะรักษ์ รอง ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.อภิชาติ เรนชนะ ผกก.2 บก.ปคบ., พ.ต.ท.กานต์กนิษฐ์ จงประเสริฐ รอง ผกก.2 บก.ปคบ., พ.ต.ท.ธีรภพ พันธุชาติ รอง ผกก.2 บก.ปคบ.

เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการที่ 2 กก.2 บก.ปคบ. นำโดย พ.ต.อ.อภิชาติ เรนชนะ ผกก.2 บก.ปคบ.พ.ต.ท.ธีรภพ พันธุชาติ รอง ผกก.2 บก.ปคบ., พ.ต.ต.จำรูญ คำมา สว.กก.2 บก.ปคบ. พร้อมชุดปฏิบัติการที่ 2 กก.2 บก.ปคบ.ร่วมกันตรวจยึดผลิตภัณฑ์สารกำจัดวัชพืช บรรจุในถังพลาสติก ทรงกลม สีน้ำเงิน ขนาดบรรจุ 200 ลิตร จำนวน 5 ถัง รวมปริมาณ 900 ลิตร ไม่มีฉลากวัตถุอันตรายและทะเบียนวัตถุอันตราย ซึ่งต้องสงสัยว่าเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ.2535

ด้วยเจ้าพนักงานตำรวจ ชป.2 กก.2 บก.ปคบ. ได้ตรวจสอบแอพพลิเคชั่น Feacbook ชื่อเพจ ซื้อ-ขายพันธุ์มันสำปะหลัง พบว่ามีสมาชิก ชื่อบัญชีผู้ใช้ 'องอาจ ตระกูลสุนทรชัย' มีการโพสต์ขายสินค้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ระบุ "เกษตรกรท่านใดที่กำลังอยากลดต้นทุน เชิญครับ ยาฆ่าหญ้า 'กลูโฟซิเนต' แกลลอน 5 ลิตร 600 บาทครับ ค่าส่งแกลลอนละ 88 บาท สนใจติดต่อ 088-5959926 เกษตรกรเชิญทางนี้ครับ เรามีบริการส่งให้ถึงหน้าบ้าน ไม่มีมัดจำ ไม่มีล่วงหน้า ของถึงค่อยโอนจ่ายเงิน สนใจทักแชทสอบถามก่อนได้ครับ" ซึ่งเข้าข่ายเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535

เจ้าพนักงานตำรวจชุดดังกล่าว จึงได้ให้สายลับติดต่อกับเฟซบุ๊กดังกล่าวและสนทนาผ่าน
Messenger เพื่อซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าสารกำจัดวัชพืช สารพาราควอต บรรจุในถังพลาสติก ขนาดบรรจุ 200 ลิตร จำนวน 1 ถัง และสารกลูโฟซิเนต บรรจุในถังพลาสติก ขนาดบรรจุ 200 ลิตร จำนวน 4 ถัง โดยสารกลูโฟซิเนต ในราคาถังละ 23,000 บาท สารพาราควอต ในราคาถังละ 25,000 บาท แจ้งว่ามีสารกลูโฟซิเนต จำนวน 6 ถัง และสารพาราควอตมี จำนวน 1 ถัง

ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา เปิดฝึกอบรมประชาชนจากทุกสาขาอาชีพ ในการป้องกันอาชญากรรมตามนโยบาย 'ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน' (Stronger Together)

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2565 โครงการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการป้องกันอาชญากรรมระดับตำบล เพื่อสนับสนุนการป้องกันอาซญากรรมตามนโยบายขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน (Stronger Together) ของตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา ห้องปรุชม HALL 1 ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช โดย พล.ต.ต.อิทธิพล นาคคำ ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา เป็นประธานกล่าวเปิด พร้อมด้วย นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวให้โอวาท พ.ค.อ.วีณวัฒน์ แย้มศรี กล่าวรายงาน และมีผู้ร่วมงาน ดังนี้ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา, รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา, ผู้แทนนายอำเภอเมืองนครราชสีมา, ปลัดอำเภอเมืองนครราชสีมา, ผู้แทนนายกเทศมนตรีนครราชสีมา, ผู้แทนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา, ผู้แทนนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, หัวหน้าสถานีตำรวจ, ผู้แทนหัวหน้าสถานีตำรวจ และเครือข่ายประชาชนผู้เข้ารับการอบรมทุกท่าน

พล.ต.ต.อิทธิพล นาคคำ ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา กล่าวเปิดการอบรมตามโครงการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการป้องกันอาชญากรรมระดับตำบล เพื่อสนับสนุนการป้องกันอาชญากรรม ตามนโยบาย 'ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน' (Stronger Together) ของตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 รุ่นที่ 2 ในวันนี้

ปักหมุด! “หนองไข่น้ำ” เหมาะสมสุด ผุด “ท่าเรือบกโคราช” 8 พันล้าน ดันโคราชศูนย์กลางโลจิสติกส์อีสาน

“สถานีรถไฟบ้านกระโดน” ตำบลหนองไข่น้ำ เหมาะสมสุด สร้าง “ท่าเรือบกโคราช” มีพื้นที่กว้าง 2,000ไร่ เป็นทุ่งนาไม่มีปัญหาเวนคืน ส่วน “กุดจิก” อำเภอสูงเนิน จุดเดิมมีปัญหาน้ำท่วม ด้าน กทท.ยัน ผุดแน่ท่าเรือบกโคราช 8 พันล้าน ดึงเอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP คาดสร้างเสร็จปี 69-70 ดันโคราชเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ภาคอีสาน

วันที่ 5 ม.ค. 2566 นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการจัดตั้งท่าเรือบก (Dry Port) จังหวัดนครราชสีมา หรือท่าเรือบกโคราช ว่า หลังจากคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทยและคณะผู้บริหารการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ลงมาดูพื้นที่แล้วพบว่าจุดที่เหมาะสมในการดำเนินการสร้างท่าเรือบก คือพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟบ้านกระโดน ตำบลหนองไข่น้ำ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีพื้นที่เกือบ 2,000 ไร่ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาชาวบ้าน และไม่น่าจะเป็นปัญหาเรื่องการเวนคืนที่ดินและการจ่ายค่าชดเชยต่าง ๆ

สำหรับสถานที่ดังกล่าวนี้มีจุดขนส่งสินค้า (Container Yard :CY) เดิมตั้งอยู่แล้ว ปัจจุบันมีการขนส่งเกลือโดยเอกชน และยังเป็นจุดเชื่อมจากถนนวงแหวนรอบเมือง หมายเลข 290 ที่เชื่อมกับเส้นทางรถไฟได้ด้วย คาดว่าจะใช้งบประมาณในการดำเนินการไม่น้อยกว่า 8,000 ล้านบาท แต่จะเป็นรูปแบบความร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชน (PPP-Public Private Partnerships)

ส่วนอีก 2 พื้นที่ คือ ต.กุดจิก อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา และบ้านทับม้า ต.สีคิ้ว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา นั้นมีความเหมาะสมน้อยกว่า โดยเฉพาะที่ อ.สูงเนิน มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม หากมีการก่อสร้างอาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่โดยรอบและจะมีปัญหาตามมาเพราะมีพื้นที่ชุมชนอยู่ด้วย

นายภูมิสิทธิ์กล่าวอีกว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่การท่าเรือฯ จะว่าจ้างที่ปรึกษาซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นทีมที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (นครราชสีมา) ในการศึกษาทบทวนพื้นที่ ต.หนองไข่น้ำ เพื่อลงในรายละเอียดต่าง ๆ ให้สมบูรณ์แบบ และเดินหน้าในการก่อสร้างต่อไป

“โครงการจัดตั้งท่าเรือบกโคราชจะเริ่มได้พร้อมกับโครงการจัดตั้งท่าเรือบกขอนแก่น หรือทำคู่ขนานกันไป ในส่วนของจังหวัดนครราชสีมา เรามีความพร้อมให้การสนับสนุนและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่เพื่อให้โคราชเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง” นายภูมิสิทธิ์กล่าว

ทั้งนี้ โครงการจัดตั้งท่าเรือบกจังหวัดนครราชสีมา สืบเนื่องจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รับมอบหมายจากกระทรวงคมนาคมให้ดำเนินงานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค โดยผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ที่เหมาะสมจะพัฒนาท่าเรือบกมี 4 จังหวัด ได้แก่ 1.) อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง ระยะทาง 70 กิโลเมตร 2.) ตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง 720 กิโลเมตร 3.) อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง 550 กิโลเมตร และ 4.) อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง 370 กิโลเมตร

การลงทุนจะเป็นในรูปแบบรัฐร่วมลงทุนกับเอกชน (PPP-Public Private Partnerships) โดยรัฐจะจัดหาที่ดิน ซึ่งต้องดูความเหมาะสม เพราะใช้พื้นที่จำนวนมาก อาจเป็นพื้นที่ที่มีอยู่แล้ว หรือต้องเวนคืนเพิ่มเติม ส่วนเอกชนทำหน้าที่บริหารจัดการ

โดยในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมานั้น หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้พิจารณาอนุมัติและมีการศึกษาความเหมาะสมในพื้นที่ตำบลกุดจิก อ.สูงเนิน แล้ว แต่ต่อมาเนื่องจากสถานการณ์และบริบทหลายอย่างเปลี่ยนไป จังหวัดนครราชสีมาจึงนำเสนอพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเพิ่มอีก 2 แห่ง ได้แก่ บริเวณสถานีรถไฟบ้านกระโดน ตำบลหนองไข่น้ำ อ.เมืองนครราชสีมา และบ้านทับม้า ตำบลสีคิ้ว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา

ทางด้าน นายสมชาย เหมทอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้มีท่าเรือบกในโคราช ซึ่งเดิมทีศึกษาไว้ที่พื้นที่ตำบลกุดจิก อ.สูงเนิน แต่ปัจจุบันด้วยสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ล่าสุดทาง กทท.ได้ลงไปดูพื้นที่ ทำให้เห็นถึงศักยภาพของโคราชและความพร้อมเรื่องของบุคลากร นโยบาย โดยทุกหน่วยงานในจังหวัดนครราชสีมาให้การสนับสนุนเต็มที่ ส่วนการท่าเรือนั้น หลังจากนี้จะต้องมีการปรึกษากันอีก ถ้ามีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่จัดตั้งโครงการต้องเสนอเรื่องใหม่ให้ ครม.เห็นชอบ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่ ต.กุดจิก อ.สูงเนิน ไป ต.หนองไข่น้ำ อ.เมืองนครราชสีมา หรือบ้านทับม้า อ.สีคิ้ว ที่ใดที่หนึ่ง ทั้งนี้ ต้องมาดูว่าศักยภาพเป็นไปได้หรือไม่ เรื่องการลงทุนอาจจะสูงในหลายเรื่อง จึงต้องมาปรึกษากันว่าที่ใดเหมาะสมที่สุด

นายสมชายกล่าวต่อว่า ท่าเรือบกทำแน่ ๆ ให้ความเชื่อมั่นได้เลยว่าที่โคราชต้องมี ส่วนที่จังหวัดอื่นไม่ได้ทิ้ง ซึ่งในแต่ละพื้นที่สินค้าจะต่างกัน ความสำคัญก็ต่างกันไป แต่ใครจะเป็นศูนย์กลางนั้น ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการในอนาคต ซึ่งขึ้นอยู่กับเราจะหาผู้ที่มาร่วมลงทุนกับการท่าเรือในรูปแบบ PPP

สำหรับงบประมาณในการก่อสร้างท่าเรือบกโคราชนั้น เดิมที สนข.พิจารณาไว้ว่าประมาณ 7,000-8,000 ล้านบาท แต่หากศึกษาใหม่อาจจะเพิ่มขึ้น เพราะเดิมศึกษาไว้ 3-4 ปีแล้ว ซึ่งเป็นการประมาณโดยใช้ค่าเงินในตอนนั้น หรืออาจจะลดลง เพราะพื้นที่โครงการที่ สนข.ศึกษาประมาณ 2,000 ไร่ ความจริงใช้แค่ 1,000 ไร่ก็เพียงพอ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ มีคลังสินค้า มีครบทุกอย่าง เรื่องงบประมาณต้องศึกษาต่อไป และอาจจะมีบุคคลที่สามมาทำการศึกษาให้

แม่ร้อง! ลูกถูกเพื่อนใช้ดินสอแทงตาบอด คู่กรณีโอดเรียกค่าเสียหายแพง ยันอุบัติเหตุเล่นกันเท่านั้น

(นครราชสีมา) วันที่ 11 มกราคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางสาวสุวิริภรณ์ อายุ 29 ปี ชาวบ้าน หมู่ 1 ตำบลหันห้วยทราย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ได้นำเอกสารใบแจ้งความ สภ.บ้านหันห้วยทราย พร้อมด้วยเอกสารส่งตัวรักษาดวงตา ลูกชายน้อง FM วัย 9 ขวบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลมหาราช ร้องสื่อมวลชน หลังผ่านไป 6 เดือน ยังไม่มีการเยียวยาจากโรงเรียนและผู้ปกครองคู่กรณี กลัวจะไม่ได้รับความเป็นธรรมในครั้งนี้

โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 เวลาประมาณ 14.30 น แม่ของน้อง FM เล่าว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเกือบจะ 6 เดือนแล้ว ซึ่งช่วงที่เหตุเด็กกำลังศึกษาเล่าเรียน อยู่กับเพื่อนๆภายในห้อง โดยมีคุณครูประจำชั้นได้ปล่อยให้นักเรียนอยู่กันตามลำพัง ระหว่างนั้นได้ถูกเด็กชายเอ (นามสมมุติ) ใช้เข่าแทงกลางหลังเด็กชาย FM จนทำให้ล้มลง จากนั้น เด็กชายบี (นามสมมุติ) ได้ใช้ดินสอแบบเปลี่ยนไส้ได้ แทงเข้าที่ดวงตาด้านซ้ายได้รับบาดเจ็บ ร้องด้วยอาการเจ็บปวด ซึ่งทั้งหมดเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ห้องเดียวกัน

ต่อมาครูประจำชั้นเข้ามาภายในห้องและสอบถามว่าทำกันทำไม แต่ไม่ตรวจสอบหรือดูอาการบาดเจ็บของน้อง FM ในความปกครองให้ดี ซึ่งในระหว่างนั้นไม่มีคุณครูภายในโรงเรียน โทรแจ้งรถพยาบาลหรือพาน้อง FM ไปทำการรักษาที่โรงพยาบาลแต่อย่างใด

จนกระทั่งถึงเวลาเลิกเรียนพ่อของน้อง FM ได้รับกลับบ้าน และสอบถามว่าดวงตาบาดเจ็บเพราะอะไร หลังจากทราบเรื่องจึงได้พาน้องเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาลประทาย ก่อนที่จะถูกส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาอย่างเร่งด่วน โดยหมอแจ้งว่าดวงตาข้างซ้ายมองไม่เห็นต้องทำการผ่าตัดรักษาเป็นการเร่งด่วน แต่ไม่ยืนยันว่าจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม

ปัจจุบันลูกชายได้มาพักรักษาตัวต่อที่บ้าน โดยดวงตาก็ไม่สามารถมองเห็นได้เหมือนเดิม จึงได้ทำการย้ายโรงเรียน ซึ่งห่างจากโรงเรียนเดิมประมาณ 400 เมตร สาเหตุเพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัยของโรงเรียนที่ฝากบุตรหลานเอาไว้

กอ.รมน.จังหวัดนครราชสีมา ฝึกอบรมไทยอาสาป้องกันชาติ (ทสปช.)

วันที่11 มกราคม พ.ศ.2556 การฝึกอบรมไทยอาสาป้องกันชาติ (ทสปช.) โดย พ.อ.อรรถชัย รักษาศิลป์ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดนครราชสีมา ประธานในพิธีพร้อมด้วยพ.อ.หญิง อรสา สบายสูงเนิน หน.กลุ่มงานกิจการมวลชน กอ.รมน.จังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงาน

กองอำนวยกำรรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดนครราชสีมา ได้เล็งเห็นความสำคัญ ของการเสริมสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อความมั่นคงดังกล่าว จึงได้กำหนดให้มีการฝึกอบรมไทยอาสาป้องกันชาติขึ้น มีกำหนด 3 วัน 2 คืน โดยมีวัตถุประสงค์

1.) ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับทราบถึงอุดมการณ์ ทสซปช. ที่กล้าหาญ และเสียสละ ทั้งมีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อส่วนรวมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามด้านความมั่นคงด้วยความภาคภูมิใจ

2.) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคาม ด้านความมั่นคงในพื้นที่ระดับตำบล เที่ตรงกับสภาพปัญหาที่แท้จริง

3.) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อความมั่นคง ของกองอำนวยกำรรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดนครราชสีมา

4.) เพื่อเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี และความปรองดอง ให้เกิดขึ้นในชุมชนและเป็นจิตอาสาที่มีความพร้อมในการทำงาน เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

"ไม่รู้จะไปไหนก็ให้ไป ม.วงษ์" มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จัดแถลงข่าวการจัดมหกรรมวันเด็กแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 66 เวลา 14.00 น. ดร.ณัฐวัฒม์ วงษ์ชวลิตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล แถลงข่าวการจัดมหกรรมวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นในวันที่ 13 – 15 มกราคม 2566 ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุลโดยรอบ ซึ่งจะมีกิจกรรมมากมายทั้งการให้ความรู้ ความบันเทิง แจกของรางวัล ร้อง เล่น เต้นประกวด โดยเฉพาะความอลังการผลงานของสถาบันศิลปะการแสดงแห่งมหาวิทยาลัยวงษ์ซวลิตกุล

โดยการจำลองปราสาทแห่งเวทมนต์ด้วยเทคนิค Projection mapping ที่จะสร้างความตื่นตาตื่นใจให้เด็ก ๆ ด้วยระบบเทคนิค effect ระดับ world class ประกอบการแสดงในรูปแบบที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อนในประเทศไทย รวมทั้งมีการเปิดให้ชมและร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ซึ่งมีทั้งหมด 8 คณะวิชา ซึ่งการจัดงานวันเด็กในครั้งนี้ มหาวิชวลิตกุล มั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นจุดดึงดูดเด็ก ๆ และเยาวชน รวมทั้งผู้ปกครองภายในจังหวัดนครราชสีมาเข้ามาร่วมกิจกรรมไม่ต่ำกว่าหมื่นคน

"เสธ.เต้ย" นำทีมเพื่อนสร้างบุญ จัดหาชุด อุปกรณ์การเรียนให้ นร.ยากไร้

"เสธ.เต้ย" พร้อมกัลยาณมิตรสมทบทุนจัดหาชุดนักเรียน รองเท้า อุปกรณ์การเรียนมอบให้นักเรียนที่ขาดแคลน เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ปกครองที่รายได้น้อย เพื่อเพิ่มโอกาสและความเท่าเทียมในสังคม

เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 66 ที่ จังหวัดนครราชสีมา พล.ต.อาจอง บัวชุม ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้เป็นผู้แทนเหล่ากัลยาณมิตร ที่ร่วมสมทบทุนในการจัดหาชุดนักเรียน, รองเท้านักเรียนและอุปกรณ์การเรียน มอบให้กับนักเรียนที่ขาดแคลน เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับคณะครู, ผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยให้เด็กได้มีโอกาสในความเท่าเทียมของการอยู่ร่วมกันในสังคม

แม่ค้าโคราชยิ้ม อากาศหนาวจนไส้กรอกรถเข็นขายดี ทำแทบไม่ทัน เผย ขายได้วันละ 2,500 บาท เดือนนึงได้เหยียบแสน!!

(นครราชสีมา) วันที่ 24 มกราคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงที่สภาพอากาศกำลังหนาวเย็นในช่วงนี้ ทำให้อาหารร้อน ๆ ได้รับความนิยมและขายดีเป็นพิเศษ

อย่างเช่นร้านไส้กรอกแม่นางใหญ่ของ นายอุดม ต่างตอน อายุ 40 ปี ซึ่งเปิดร้านรถเข็นขายไส้กรอกอยู่ริมสวนสาธารณะเทศบาลตำบลแชะ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา โดยทางร้านจะตั้งเตาย่างไส้กรอกแบบสด ๆ ขายให้กับประชาชนที่ผ่านไปผ่านมาได้กินแบบร้อน ๆ และตอนนี้เข้าสู่หน้าหนาวทำให้ขายดีเป็นพิเศษ จนทางร้านย่างขายกันแทบไม่ทันเลยทีเดียว

ขณะเดียวกัน ก็มีลูกค้าจากต่างพื้นที่มาติดต่อขอให้ทางร้านทำไส้กรอกแบบสดส่งให้ เพื่อนำกลับไปขายในพื้นที่ในช่วงฤดูหนาวเพิ่มขึ้นด้วย นายอุดมฯ กล่าวว่า ในช่วงนี้อากาศกำลังหนาวเย็น ทำให้ไส้กรอกย่างร้อน ๆ ขายดีเป็นพิเศษ

'เกษตรโคราช' ปลื้ม! กรมปศุสัตว์ให้การสนับสนุน ธุรกิจเลี้ยงโคเนื้อปราณีต โกยรายได้นับล้านต่อปี!!

(นครราชสีมา) สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ครบุรี โคราช ได้รับการสนับสนุนจากกรมปศุสัตว์รายละ 2.5 แสนบาท เลี้ยงโคเนื้อแบบปราณีต โครงการ 7 ปี มีโคเนื้อคุณภาพดีกว่า 90 ตัว สร้างรายได้ปีละหลายแสนบาทต่อราย บางรายมีรายได้หลักล้าน ยังผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์แพ็กถุงส่งขายให้กับร้านขายไม้ประดับด้วย

วันที่ 26 ม.ค. 2566 นายบัญชา ชุติมันตานนท์ ปศุสัตว์อำเภอครบุรี นำทีมเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 3 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพืชอาหารสัตว์และเลี้ยงสัตว์ ตำบลสระว่านพระยา อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ที่เข้าร่วมโครงการโคเนื้อสร้างอาชีพ ระยะที่ 2 ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 9 ราย

โดยสมาชิกทั้ง 9 รายได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทางกรมปศุสัตว์ เพื่อดำเนินการเลี้ยงโคเนื้อคุณภาพรายละ 250,000 บาท โดยผลการดำเนินการของกลุ่มเกษตรกรฯ ดังกล่าวเดินหน้าเข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว จากระยะเวลาโครงการทั้งหมด 7 ปี เกษตรกรทั้งกลุ่มได้เลี้ยงโคเนื้อแบบปราณีต เพื่อจำหน่ายโคเนื้อคุณภาพไปแล้วกว่า 100 ตัว จากเดิมที่เริ่มต้นโครงการที่มีโคเนื้อเพียง 45 ตัว สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรกว่า 2.5 ล้านบาท ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรฯ กลุ่มนี้ยังมีโคเนื้อคุณภาพดีที่ยังเลี้ยงอยู่กว่า 90 ตัว และมีการดำเนินการเพาะขยายพันธุ์เพื่อสร้างโคเนื้อคุณภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย

ขณะเดียวกันทางกลุ่มฯ ยังมีรายได้เพิ่มจากการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์ โดยแพ็กถุงส่งจำหน่ายให้กับร้านขายไม้ประดับอีกด้วย ทำให้เกษตรกรกลุ่มนี้มีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นอย่างมาก


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. Esan Time Thailand
Take Me Top